Page 41 - คัมภีร์ฉันทศษศตร์pdf
P. 41
ปิตตํ คือวังหน้า เร่งรักษาเขม้นหมาย
อาหารอยู่ในกาย คือเสบียงเลี้ยงโลกา
หนทางทั้งสามแห่ง เร่งจัดแจงอยู่รักษา
ห้ามอย่าให้ข้าศึกมา ปิดทางได้จะเสียที"
ตัวอย่างนี้พรรณนาถึง “กายนคร” ซึ่งเปรียบร่างกายมนุษย์เป็นเมือง จิตใจเป็นกษัตริย์แพทย์เป็น
ทหารทำหน้าที่ป้องกันข้าศึก คือ โรคภัยไม่ให้มาโจมตี และคอยระมัดระวังดูแลทุกทาง
2 คุณค่าด้านความคิด
2.1 การมีความรู้ในวิชาชีพ แพทย์จะต้องมีความรู้ความชำนาญในเรื่องโรคและวิธีการรักษาเป็น
อย่างดี การขาดความรู้ตามคัมภีร์แพทย์จะทำให้ขาดความรู้ในเรื่องสาเหตุของโรค การรักษาก็จะเป็นไป
อย่างคลำเอาเหมือนคนตาบอด ดังความว่า
"ไม่รู้คัมภีร์เวช ห่อนเห็นเหตุซึ่งโรคทำ
แพทย์เอ๋ยอย่างมคลำ จักขุมืด บ เห็นทน"
2.2 ความรักในเพื่อนมนุษย์ ผู้ที่เป็นแพทย์จะต้องรักษาคนไข้ด้วยใจที่ยุติธรรม คนไข้ทุกคนควรได้รับ
ความสนใจอย่างเท่าเทียม ไม่มีการแบ่งชั้นวรรณะ และรักษาคนไข้ด้วยจิตใจที่บริสุทธิ์ ไม่มีความพยาบาท
อาฆาตแค้น ไม่เห็นแก่เงิน มีความปรารถนาให้คนไข้หายจากโรคภัย
2.3 การมีคุณธรรมหรือจรรยาแพทย แพทย์ที่ดีควรมีคุณธรรม โดยยึดหลักคำสอนในพุทธศาสนาเป็น
์
แนวทางชี้นำ ดังคำประพันธ์ที่ว่า
"ศีลแปดแลศีลห้า เร่งรักษาสมาทาน
ทรงไว้เป็นนิจกาล ทั้งไตรรัตน์สรณา
เห็นลาภอย่าโลภนัก อย่าหาญหักด้วยมารยา
ไข้น้อยว่าไข้หนา อุบายกล่าวให้พึงกลัว
โทโสจงอดใจ สุขุมไว้อยู่ในตัว
คนไข้ยิ่งคร้ามกลัว มิควรขู่ให้อดใจ
โมโหอย่าหลงเล่ห์ ด้วยกาเมมิจฉาใน
พยาบาทแก่คนไข้ ทั้งผู้อื่นว่ากล่าวกล"
หน้า 39