Page 130 - แผนพัฒนาการศึกษา พ.ศ.2566-2570
P. 130

110




                     โทรศัพท์มือถือ ซึ่งสัดส่วนทั้งสองเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในระยะ 3 ปี ที่ผ่านมา แสดงให้เห็นถึงการ
                     ปรับตัวของประชากรเข้าสู่ยุคดิจิทัลมากขึ้น

                                    ด้านการมีส่วนร่วมของชุมชน พบว่า ในกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
                     ตอนกลาง มีจำนวนองค์กรชุมชนต่อประซากรแสนคน รวมประมาณ 158 แห่ง มีสัดส่วนครัวเรือนมีส่วน

                     ร่วมในกิจกรรมสาธารณะคิดเป็นร้อยละ 99.78 โดยในปี 2562 ปรับตัวลดลงเล็กน้อยจากปีที่ผ่านมา

                     และมีสัดส่วนครัวเรือนที่สมาชิกเข้าร่วมองค์กรกว่าร้อยละ 82 พร้อมทั้งในปี 2562 ยังมีการรวบรวม
                     ภูมิปัญญาท้องถิ่นเท่าเดิมเมื่อเทียบจากปี 2560 อยู่ที่ 48 ราย

                                    ด้านความมั่นคงและปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน พบว่า กลุ่มจังหวัดภาค

                     ตะวันออก เฉียงเหนือตอนกลางมีแนวโน้มของจำนวนคดีอาญาต่อร่างกายและจำนวนคดีอาญา
                     ต่อทรัพย์สินมีการปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง และคดียาเสพติดปรับตัวลดลงจากปี 2561 ที่ผ่านมา

                                                                   ิ่
                     ในขณะที่การเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนมีจำนวนปรับตัวเพมขึ้น
                                     ด้านภัยธรรมชาติ  ในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก
                     เฉียงเหนือตอนกลาง มีรายงานสถานการณ์การเกิดอุทกภัยทำให้ประชากรหรือทรัพย์สินได้รับความ

                     เสียหาย
                                    ด้านพลังงาน ในภาคครัวเรือนมีแนวโน้มการใช้ไฟฟ้าและน้ำมันเชื้อเพลิงต่อ

                                                                                      ้
                     หัวประชากรปรับตัวเพิ่มมากขึ้นในขณะที่ภาคไม่ใช่ครัวเรือนมีสัดส่วนการใช้ไฟฟาต่อมูลค่าผลิตภัณฑ์
                     มวลรวมฯ ปรับตัวลดลงที่ประมาณ 6,716 kWh/ล้านบาท ซึ่งมีประสิทธิภาพการใช้ด้อยเมื่อเทียบกับ
                     ค่าเฉลี่ย และจำนวนระบบพยากรณ์และอุปกรณ์เตือนภัยล่วงหน้า ค่าสถิติจำนวน 34 ชิ้น น้อยกว่า

                     ค่าเฉลี่ย (173 ชิ้น)   อยู่ในอันดับที่ 15 จาก 18 กลุ่มจังหวัด
                               จุดเด่นและศักยภาพของกลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์

                                     เป็นฐานการผลิตพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ  (อ้อยโรงงาน มันสำปะหลัง และข้าว)

                     มีความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านคมนาคมขนส่งที่สามารถเชื่อมโยงไปยังเขตพัฒนาพิเศษภาค
                     ตะวันออก (EEC)  และจีนตอนใต้

                                     ตั้งอยู่บนระเบียงฐานเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic

                     Corridor : EWEC) และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ)
                                  ศูนย์กลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่เชื่อมต่อกับพื้นที่เศรษฐกิจสำคัญของ

                     ประเทศ และประเทศเพื่อนบ้าน

                                      สถาบันการศึกษา สถาบันวิจัย และอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ที่สนับสนุน
                     การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม

                                     ความพร้อมด้านปัจจัยอื่น ๆ เพื่อรองรับการลงทุน อาทิ ด้านแรงงาน การเป็น

                     ศูนย์กลางทางการศึกษา ศูนย์บริการทางการแพทย์และสาธารณสุข มีศูนย์ราชการ และเป็นศูนย์กลาง
                     การเงิน การพาณิชย์ระดับภาค



                     ---------------------------------------------------------------------------------
   125   126   127   128   129   130   131   132   133   134   135