Page 129 - แผนพัฒนาการศึกษา พ.ศ.2566-2570
P. 129
109
2.37 วัน ในส่วนนี้สะท้อนให้เห็นว่า ระยะเวลาพำนักอยู่ที่ 2 วัน และยังมีช่วงที่ห้องพักว่างอยู่ถึง
ั
ร้อยละ 47 ซึ่งยังมีช่องว่างการพฒนาด้านการท่องเที่ยว ทั้งการเพิ่มกิจกรรมการท่องเที่ยว ยืดระยะเวลา
พำนักสร้างรายได้ให้กลุ่มจังหวัดรวมทั้งการกระจายรายได้สู่จังหวัดรอง และสร้างรายได้จากการ
ท่องเที่ยวหลังยุคโควิด-19
6) ด้านสังคม
ด้านการศึกษา จากข้อมูลเฉพาะในเขตสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม
ศึกษาในปี 2563 พบว่ามีอัตราส่วนครูต่อนักเรียนอยู่ที่ 1 : 9 คน และมีอัตราส่วนนักเรียนเฉลี่ยต่อห้อง
อยู่ที่ 12 คน และมีจำนวนปีการศึกษาเฉลี่ยเท่ากับ 7 ปีซึ่งปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากปี 2560 ในด้าน
คุณภาพการศึกษาที่พิจารณาจากข้อมูลคะแนน O NET และ IQ มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น แต่ยังต่ำกว่า
ค่าเฉลี่ยภาพรวม อย่างไรก็ตามค่าสัดส่วนของเด็กที่มี EQ ไม่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน อยู่ที่ร้อยละ
82.44 ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยในด้านการอ่านของประชากรในจังหวัด พบว่า มีอัตราการอ่านในปี 2561
อยู่ที่ร้อยละ 82.9 และมีเวลาที่ใช้อ่านเฉลี่ยต่อวันเพิ่มสูงขึ้นจากปี 2558 ปรับสูงขึ้นมาอยู่ที่ 68 นาที
ต่อวัน
ด้านสาธารณสุข ในปี 2562 จังหวัดมีสถานพยาบาลรวม 92 แห่ง
รวม 9,587 เตียง โดยอัตราส่วนประชากรต่อสถานพยาบาลอยู่ที่54,913 : 1 และอัตราส่วนประชากร
ต่อเตียงเท่ากับ 527 : 1 สัดส่วนนี้อาจยังไม่เพียงพอต่อการให้บริการผู้ป่วย ด้านสุขภาพของ
ประชากรของจังหวัดมีอายุยืนเพิ่มมากขึ้นและภาวะอ้วนลงพุงปรับตัวเพมขึ้น อย่างไรก็ตามยังพบ
ิ่
ปัญหาสุขภาพที่อาจเพิ่มขึ้นจากสัดส่วนคนดื่มสุราและคนที่สูบบุหรี่ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2561
(ข้อมูลจากการสำรวจ) และอัตราการเจ็บป่วยด้วย 5 โรคสำคัญเพิ่มขึ้นในทุกโรค ซึ่งควรต้องมีการ
เฝ้าระวังและรณรงค์การรักษาสุขภาพกับประชากรต่อไป
ด้านสังคม ด้านรายได้ และความเหลื่อมล้ำ มีอัตราการพึ่งพิงอยู่ที่ร้อยละ
48.57 ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยเล็กน้อย ทั้งนี้ 3 ปีที่ผ่านมามีประชากรผู้สูงอายุมีจำนวนเพิ่มขึ้น ขณะที่
ประชากรวัยแรงงานและประชากรวัยเด็กลดลง ด้านรายได้และเงินออมเฉลี่ยต่อครัวเรือนปรับตัว
เพิ่มขึ้นจากปี 2560 โดยปัจจุบันครัวเรือนมีรายได้เฉลี่ยเท่ากับ 19,838 บาท/เดือน และมีเงินออมเฉลี่ย
เท่ากับ 3,246 บาท/เดือน ทั้งนี้ ค่าสัมประสิทธิ์ความไม่เสมอภาคด้านรายได้ปี 2562 เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่
0.417 และมีคนจนในสัดส่วนที่ลดลงเหลือร้อยละ 7.22 แสดงให้เห็นถึงความเหลื่อมล้ำมีการปรับตัว
ลดลง
ด้านการเข้าถึงบริการสาธารณะ ครัวเรือนส่วนใหญ่ของกลุ่มจังหวัดภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง กว่าร้อยละ 86.60 เข้าถึงไฟฟ้า แต่มีเพียงร้อยละ 20.54 ที่เข้าถึง
น้ำประปา แสดงให้เห็นการให้บริการขั้นพื้นฐานด้านประปาที่ยังต้องพัฒนาให้ครอบคลุมเพิ่มขึ้น
สำหรับการใช้เทคโนโลยีการสื่อสาร พบว่า ในจังหวัดมีสัดส่วนประชากรที่เข้าถึงอินเทอร์เน็ตกว่าร้อย
ละ49.70 และประชากรส่วนใหญ่คิดเป็นร้อยละ 91.68 ของประชากรทั้งหมดในกลุ่มจังหวัดมี
---------------------------------------------------------------------------------