Page 127 - แผนพัฒนาการศึกษา พ.ศ.2566-2570
P. 127
107
ู
1.6 ข้อมลด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม (ต่อ)
- ปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขน ปี 2563 3,597.3 ตัน/วัน
ึ้
ปริมาณขยะมูลฝอยที่ถูกนำกลับมาใช้ประโยชน์ 1,537 ตัน/วัน
ปริมาณขยะมูลฝอยที่ถูกกำจัดถูกต้อง 807 ตัน/วัน
ที่มา : แผนพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง พ.ศ. 2566 - 2570
จากข้อมูลพื้นฐานและศักยภาพการพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ตอนกลาง ข้างต้น สามารถสรุปผลระดับการพัฒนาศักยภาพภายในกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก
เฉียงเหนือตอนกลาง (Competitive Benchmarking) รายสาขา ดังนี้
1) เศรษฐกิจภาพรวม เศรษฐกิจของกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง
มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2559 – 2562 โครงสร้างเศรษฐกิจหลักอยู่ในภาคอุตสาหกรรม
(การผลิต) รองลงมาคือภาคเกษตร (เกษตรกรรม ป่าไม้ และการประมง) และภาคบริการ (การศึกษา)
ตามลำดับส่งผลให้มูลค่าผลิตภัณฑ์เฉลี่ยต่อหัวประชากรขยายตัวอย่างต่อเนื่อง แต่ยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ย
สอดคล้องกับผลิตภาพแรงงานเฉลี่ยขยายตัวอย่างต่อเนื่องเช่นกัน อย่างไรก็ตามอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้ม
ปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยในปี 2562 มีอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ 0.98 ซึ่งต่ำกว่ากรอบเป้าหมายของแผนพัฒนา
เศรษฐกิจฯ ฉบับที่ 12 กำหนดไว้ (*กรอบเป้าหมายที่กำหนดไว้ให้อัตราเงินเฟ้อระยะปานกลางอยู่ที่
ร้อยละ 2.5 +- 1.5)
2) ภาคการเกษตร กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลางมีระดับการ
พัฒนาที่เป็นจุดเด่น ได้แก่ สัดส่วนมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภาคเกษตรต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมทั้งหมด
แบบปริมาณลูกโซ่อยู่ที่ร้อยละ 12 สูงกว่าค่าเฉลี่ย ที่ร้อยละ 9.8 โดยมีสัดส่วนการใช้ประโยชน์ที่ดิน
เพื่อการเกษตรอยู่ที่ร้อยละ 69.95 เป็นอันดับ 1 ที่มีสัดส่วนมากที่สุด และมีสัดส่วนหนี้เสียต่อปริมาณ
เงินกู้ยืมเพื่อการเกษตรร้อยละ 1.99 เป็นอันดับ 1 ที่มีหนี้เสียน้อยที่สุดของ 18 กลุ่มจังหวัด และ
ผลผลิตสินค้าเกษตรสำคัญเฉลี่ยต่อไร่ (พืช) อยู่ที่ 2,180 กิโลกรัมต่อไร่ มากว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ
และมีปริมาณพืชพลังงานอยู่ที่ 3,7773.94 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ อยู่ในลำดับ 5 ของ 18 กลุ่ม
จังหวัด และมีจำนวนฟาร์มที่ได้รับรองมาตรฐานฟาร์ม GAP จำนวน 1,722 ฟาร์ม และมีโรงงาน/
สปก.ผลิตสินค้าเกษตรและอาหารที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน GMP/HACCP จำนวน 33 แห่ง แต่ยัง
มีสิ่งที่ต้องกังวล ได้แก่ ผลผลิตสินค้าเกษตรสำคัญเฉลี่ยต่อไร่ (ประมง) ยังคงอยู่ในอัตราต่ำกว่า
ค่าเฉลี่ย สัดส่วนหมู่บ้านที่มีน้ำใช้เพื่อการเกษตรเพียงพอตลอดทั้งปีอยู่ที่ร้อยละ 37.79 อยู่ในอันดับ
สุดท้ายของประเทศและรายได้เงินสดสุทธิทางการเกษตรเฉลี่ยต่อครัวเรือน และสัดส่วนหนี้สินต่อ
รายได้เงินสดสุทธิทางการเกษตรยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยมาก
---------------------------------------------------------------------------------