Page 131 - แผนพัฒนาการศึกษา พ.ศ.2566-2570
P. 131

111




                                     รัฐบาลให้ความสำคัญกับนโยบายการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมขนส่งทั้งทางบก

                     ทางราง และทางอากาศ  ทำให้กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลางมีโอกาสในการ
                     พัฒนาพื้นที่ไปสู่การเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ (Logistic Hub) ของภูมิภาค

                               ความท้าทายในการพัฒนาของกลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์

                                   1. การแก้ไขปัญหาพื้นฐาน อาทิ ปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้งรวมถึงการบริหารจัดการน้ำ
                     ที่มีประสิทธิภาพ ปริมาณผลผลิตทางการเกษตรต่อไร่ต่ำ ผลิตภาพแรงงานต่ำ

                                   2. ปัญหาความยากจน ความเหลื่อมล้ำและการกระจายรายได้ในพื้นที่กลุ่มจังหวัด
                     ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

                                   3. ภัยคุกคามที่เกิดขึ้นจากการระบาดที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจและสังคมของกลุ่ม

                     จังหวัด
                               เป้าหมายการพัฒนา ระยะ 5 ปี ข้างหน้า (พ.ศ. 2566 – 2570)

                                 แนวคิดการพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง ในระยะ 5 ปี
                     ข้างหน้า (พ.ศ. 2566 – 2570)  ให้เป็นกลุ่มจังหวัดที่มีความน่าอยู่และทันสมัย (Smart Cluster)

                     มีเศรษฐกิจแห่งอนาคตที่เติบโตอย่างยั่งยืน ผู้ประกอบการมีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง

                     บนพื้นฐานทรัพยากรของกลุ่มจังหวัดโดยใช้ความคิดสร้างสรรค์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการลงทุน
                     การผลิตสินค้าและบริการมูลค่าสูง ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมทั้งภาคการเกษตร ภาคอุตสาหกรรม และ

                     ภาคบริการ สามารถตอบสนองเชื่อมโยงความต้องการของตลาดในอนาคตทั้งภายในและภายนอกประเทศ

                     ได้อย่างโดดเด่น รวมถึงทรัพยากรมนุษย์ ชุมชน และสังคมมีศักยภาพบนฐานภูมิปัญญาความคิด
                     สร้างสรรค์และนวัตกรรม สามารถพึ่งพาตนเองและมีภูมิคุ้มกันในการจัดการพิบัติภัยในรูปแบบต่าง ๆ

                                                           ุ
                     ได้อย่างเท่าทัน ดำรงชีวิตอย่างมีความสุขและมีคณภาพอย่างเท่าเทียมและมีความเป็นสากล


                         3.1.2 ดัชนีความก้าวหน้าของคน (Human Achievement Index : HAI) ปี 2563

                              สำนักงานคณะกรรมการพฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จัดทำดัชนีความก้าวหน้า
                                                     ั
                     ของคนเป็นการประมวลผลข้อมูลในลักษณะดัชนีรวม (Composite index) ที่วัดผลลัพธ์ของการ

                     พัฒนาคนระดับจังหวัดเป็นหลัก และนำเสนอในระดับภาพรวมของการพัฒนาคนและการพัฒนาคน
                     รายด้าน โดยแนวคิดของการพัฒนาคนที่ใช้ในการจัดทำดัชนีความก้าวหน้าของคน ปี 2563 ได้

                     สะท้อนการพัฒนาของคนในมิติต่าง ๆ ครอบคลุมพื้นฐานการพัฒนาคนทั้ง 8 ด้าน โดยที่

                     กระบวนการพัฒนาคนจะต้องมุ่งเน้นให้คนมีสุขภาพที่ดี มีการศึกษา มีชีวิตการงาน มีรายได้ที่
                     เพียงพอต่อการดำรงชีวิต มีที่อยู่อาศัยที่มั่นคงและอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี มีชีวิตครอบครัวที่อบอุ่น

                     ในชุมชนที่มีความปลอดภัย มีการคมนาคมที่สะดวกปลอดภัยและเข้าถึงการสื่อสารอย่างทั่วถึง








                     ---------------------------------------------------------------------------------
   126   127   128   129   130   131   132   133   134   135   136