Page 191 - เมืองลับแล(ง)
P. 191

ตอนที่ ๒ ประวัติเมืองลับแลและเจ้าฟ้าฮ่ามกุมาร

                                                                                                      1
                       รวบรวมโดย นายสมปรารถน์  เสาวไพบูลย์ นายอำเภอลับแล คนที่ ๒๐ (พ.ศ. ๒๕๒๖ – ๒๕๒๗)   ได ้
               มีการอ้างถึงที่มาของการเรียบเรียงว่า
                       คุณสมศักดิ์  อุ่นเจริญ  ได้มาขอให้ข้าพเจ้าเขียนประวัติเมืองลับแลและเจ้าฟ้าฮ่ามกุมาร เพื่อนำไป

               จัดพิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพท่านพระครูธรรมเนตรโสภณ อดีตเจ้าคณะอำเภอลับแล ข้าพเจ้าก็รับคำ
               ด้วยความหนักใจ เพราะการเขียนประวัติศาสตร์นับเป็นเรื่องยาก  โดยเฉพาะข้าพเจ้าเป็นคนต่างถิ่นแต่ถึง

               อย่างไรก็ตามเมื่อไม่มีผู้ใดอาสาเขียนให้  ข้าพเจ้าก็ยินดีให้ความร่วมมือ จึงได้รวบรวมคำบอกเล่าและค้นคว้า

               จากหนังสือตำนานบ้าง จากพระครูสิมพลีคณานุยุต  อนาวิลเถระ  เจ้าอาวาสวัดกลาง  อำเภอเมือง จังหวัด
                                                                                                        ั
               อุตรดิตถ์บ้าง (ท่านเป็นชาวลับแลโดยกำเนิด และเคยบวชอยู่ที่วัดเจดีย์ฯ ท่านทราบความเป็นมาของอำเภอลบ
               แลเป็นอย่างดี)  จึงพอมีความรู้ปะติดปะต่อกันได้ ฉะนั้นข้อเขียนนี้ ข้าพเจ้าไม่ยืนยันว่าจะเป็นความจริงมาก

                                                          ่
                                                                                           ่
                                                                                                       ิ
               หรือน้อยเพียงไร แต่เป็นการรวบรวมจากการบอกเลา เพื่อให้ทราบความเป็นมาโดยสังเขปเทานั้น อาจจะผดก็
                                                                               ้
               ได้จึงขออภัยไว้  ณ โอกาสนี้ด้วย  สำหรับการก่อสร้างพระรูปและอนุสาวรีย์เจาฟ้าฮ่ามกุมารนั้น ข้าพเจาทราบ
                                                                                                    ้
               ดีเพราะเป็นผู้ริเริ่มแต่ต้น  จึงได้สรุปไว้ท้ายข้อเขียนนี้ เพื่อจะเป็นประโยชน์ต่ออนุชนรุ่งหลัง สำหรับศึกษาความ
               เป็นมาต่อไป

                       สำหรับเรื่องที่นายสมปรารถน์  เสาวไพบูลย์ ได้เรียบเรียงขึ้นมานั้น ประกอบด้วย ๔ เรื่อง ดังนี้




                       เรื่องที่ ๑ เจ้าฟ้าฮ่ามกุมารครองเมือง

                       เจ้าแคว้นได้นำตัวนางสุมาลี นางสุมาลา เข้าเฝ้าพระเจ้าเรืองธิราชตามรับสั่ง  พระองค์พิเคราะห์ดแลว
                                                                                                      ู
                                                                                                        ้
               เห็นว่าหญิงสาวทั้งสองคนนี้มีลักษณะรูปพรรณผิดแผกจากสามัญชนทั่วไป คือ มีคุณสมบัติควบถ้วนทุกประการ
               ที่จะเป็นชายาแห่งราชบุตรของพระองค์ได้ จึงเอ่ยปากขอนางทั้งสองต่อเจ้าแคว้นและเจ้าหลักเพื่ออภิเศกให้

                                                                                                ุ
               เป็นชายาของเจ้าฟ้าฮ่ามกุมารราชบุตรจะขัดข้องหรือไม่  เจ้าแคว้นก็ตอบว่าเป็นพระมหากรุณาธิคณอันลนพ้น
                                                                                                     ้
                                                           ี่
               เป็นวาสนาแก่ธิดาของข้าพเจา และเจ้าหลักอย่างหาทเปรียบมิได้ แล้วแต่จะทรงพระกรุณา ข้าพระพุทธเจาไม่
                                                                                                      ้
                                       ้
               ขัดข้องแต่ประการใด เจ้าหลักก็คงไม่ขัดข้อง พระองค์ก็ทรงพอพระทัยยิ่งนัก จึงประกาศกำหนดให้มีพิธีอภิเษก
               สมรสพระราชบุตรภายใน ๖ เดือน ครั้นถึงกำหนด ๖ เดือนแล้วเจ้าฟ้าฮ่ามกุมารพร้อมด้วยพระญาติ สมณช ี

               พราหมณ์ ทหาร ข้าทาสบริวาส ก็ได้ตกแต่งขบวนขันหมากแห่แหนจากโยนกเดินทางมุ่งมายังเมืองลับแล  ครั้น
               ถึงก็ได้ประกอบพิธีอภิเศกสมรสตามพระราชประเพณีเป็นที่เอิกเกริก อภิเษกสมรสแล้วก็แต่งตั้งให้นางสุมาล  ี





               1  นายสมปรารถน์  เสาวไพบูลย์ ดำรงตำแหน่งสุดท้ายคือ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อ ๘ พฤศจิกายน
               พ.ศ. ๒๕๕๘ สิริอายุ ๗๘ ปี

                                             การวิเคราะห์วรรณกรรมเมืองลับแล
                                                        หน้า ๔๑
   186   187   188   189   190   191   192   193   194   195   196