Page 227 - เมืองลับแล(ง)
P. 227
การพิจารณาเนื้อความในตำนานพระเจ้ายอดคำทิพย์
๑. ตำนานพระเจ้ายอดคำทิพย์ สามารถแบ่งเนื้อหาได้เป็น ๒ ส่วน คือ
๑.๑ ส่วนที่ ๑ ส่วนนำเรื่อง
ส่วนนำเรื่องของตำนานพระเจ้ายอดคำทิพย์ ขึ้นต้นด้วย “นะโม ตัสสัตถุ ที่นี้จักกล่าวเป็นตำนาน
พระต๋นองค์ฅำมุนีเจ้ายอดฅำติ๊บ เวียงลับแลงไชยนคราแก้วกว้าง” แล้วตามด้วยเนื้อความกล่าวนำหรือ
ตำนานพระพุทธเจ้าเสด็จ แล้วตามด้วยเนื้อความพระพุทธเจ้าทำนาย
ในส่วนขึ้นต้นมีส่วนคล้ายกับตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ฉบับ จ.ศ. ๑๒๘๘ (ฉบับ CMA.HPms. จารเมื่อ
2
พ.ศ. ๒๔๖๙) ด้วยการขึ้นต้นว่า “นโม ตสฺสตฺถุ ฯ” แล้วตามด้วยบทอาราธนา (ไหว้ครู) และเมื่อเปรียบเทยบ
ี
บทขึ้นต้นของตำนานต่างๆ ในจังหวัดลำปางพบว่ามีส่วนคล้ายกับ ตำนานพระธาตุปางม่วง ที่ขึ้นต้นว่า “นโม
3
ุ
่
ตสฺสตฺถ สรีสวัสดี ทีนี้จักกล่าวตำนานพระมุณีราทมหาธาตุฯ” ตำนานม่อนพญาแช ที่ขึ้นต้นว่า “นโม ตสฺสตฺถ ุ
4
ุ
สาธะโว ฯ” และตำนานวัดกู่คำ เมืองนครลำปาง ที่ขึ้นต้นว่า “นโม ตสฺสตฺถ สรีสวัสดี มังคลนิทานวรกถา ที่นี้
จักกล่าวนิทานตำนานวัดกู่ฅำเมืองนคร ฯ” จะเห็นได้ว่าในส่วนขึ้นต้น (บทนมัสการ) ของตำนานพระเจ้ายอด
5
คำทิพย์มีการขึ้นต้นที่คล้ายกับ ตำนานพระธาตุปางม่วง และตำนานวัดกู่คำ มากที่สุด ซึ่งจัดเป็นตำนานยุคหลง
ั
6
เขียนในสมัยรัตนโกสินทร์ช่วงสมัยรัชกาลที่ ๖ ลงมา
เนื้อความส่วนนำเรื่องของตำนานพระเจ้ายอดคำทิพย์ ได้กล่าวถึง พระพุทธเจ้าเสด็จยังเมืองสาวัตถี
เพื่อตรัสรู้ใน “๒๕ ปี๋ข้าว” ในคืนหนึ่งจึงทรงรำพึงว่า “ตัวผู้ข้าอายุได้ ๖๐ ปี๋ข้าวมานี้แล้ว แลเมื่อหากนับอายุ
่
ุ
ได้ ๘๐ ปี๋ข้าว ก็จักนิพพานไป” ผู้คนทั้งหลายจะสถาปนาพระธาตให้คนทั้งหลายได้นบไหว้บูชา เมื่อลวงออก
พรรษาก็พา “มหาอานันต๊ะเจ้า” คือพระอานนท์ และ “พระอินตนต๋นพญา” คือพระอินทร์ ได้ออก “ก๋าง
้
จ้อง” คือ กางร่มถวายพระพุทธเจา เสด็จยังใต้พื้นที่ “ปิงคนาคร” คือ เมืองเชียงใหม่ “ห่อนลงมายังใตเวยง
้
ี
เขลางค์” คือ เมืองลำปาง “แลเวียงพลนคร” คือ เมืองแพร่ “มาเถิงหว่างตาฝั่งวันตกน้ำน่านมหาคณที” คือ
มาถึงระหว่างฝั่งตะวันตกแม่น้ำน่าน “แลตาฝั่งวันออกน้ำออมออน เถิงยังดินแดนดงไม้ป่ากวางช้างหลาย”
้
ทางฝั่งตะวันออกแม่น้ำยมออน คือ แม่น้ำยม บริเวณที่มีลำน้ำ “ไหลจากดอยหนเหนือ ชื่อว่า แม่ห้วยแกวจุม
้
2 ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ฉบับ เชียงใหม่ ๗๐๐ ปี, ๒๕๓๙ หน้า ๑.
3 สรัสวดี อ๋องสกุล, พินิจตำนานลำปาง, พิมพ์ครั้งที่ ๒, ลำปาง : สำนักงานจังหวัดลำปาง, ๒๕๕๘, หน้า ๙๔.
4 สรัสวดี อ๋องสกุล, ๒๕๕๘, หน้า ๑๓๒.
5 สรัสวดี อ๋องสกุล, ๒๕๕๘, หน้า ๑๕๐.
6 สรัสวดี อ๋องสกุล, ๒๕๕๘, หน้า ๒๙ และ ๓๔.
การวิเคราะห์วรรณกรรมเมืองลับแล
หน้า ๗๗