Page 271 - เมืองลับแล(ง)
P. 271

ิ
               มาภวชาใด ขออย่าตกช้อยช้าสักชาต นิพพานปัจจโยโหตุเม เมตไตยสันติ อรหัตตมัคคผลํ นิพพานํ ปรมํ สุกขํ
                                                  78
               ธุวํ ธุวํ เที่ยงแท้อย่าคลาด มี ๕๐๒ ใบแล”


                                                                                                     ้
                                                       ้
                       ทำให้เห็นว่าท้ายธัมม์ของตำนานพระเจายอดคำทิพย์มีส่วนคล้ายกับท้ายธัมม์ตำนานอื่นๆ ของลานนา
               ที่มีการบอกชื่อผู้เรียบเรียง การคาดหวังในพระพุทธศาสนา ๕๐๐๐ ปี สถานที่จาร แต่อาจมีข้อความแตกต่าง
               กันไปบ้างของแต่ละสำนวน




               สรุป



                       เมื่อศึกษาตำนานพระเจ้ายอดคำทิพย์ จะเห็นได้ว่า สอดคล้องกับการศึกษา “วรรณกรรมตำนาน
               ล้านนา : การศึกษาวิธีการสร้าง” ของ วิลักษณ์  ศรีป่าซาง ที่แบ่งเนื้อหาได้เป็น ๗ กลุ่ม คือ (๑) ตำนานปูชนีย

               สถาน (๒) ตำนานประวัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ (๓) ตำนานเมือง (๔) ตำนานบุคคล (๕) ตำนานปูชนียวัตถุ

               (๖) ตำนานประวัติศาสตร์พุทธศาสนา (๗) ตำนานเบ็ดเตล็ดอื่น ๆ โครงสร้างหลักของตำนานทุกกลุ่มนั้น
               สามารถกำหนดองค์ประกอบได้ ๓ ส่วน คือ แก่นเรื่อง ซึ่งเป็นใจความสำคัญหลักที่ผู้แต่งต้องการนำเสนอ

                                    ์
               เนื้อหาหลัก เป็นองค์องคประกอบที่ช่วยสถาปนาความสำคัญให้แก่แก่นเรื่อง และเนื้อหารอง เป็นองค์ประกอบ
               ที่ช่วยเสริมให้ตำนานมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยได้รับอิทธิพลจากตำนานหลัก ได้แก่ ตำนานพระเจ้าเลียบโลก
                                                                                                  ่
               ตำนานมูลศาสนา ชินกาลมาลีปกรณ์ ตำนานเชียงแสน ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ด้วยการนำเนื้อหาตอตำนาน
                                                                                  79
               ย่อยอื่น ๆ โดยใช้วิธีการตัดตอนไปแต่งใหม่ หรือ ยืมความคิดและวิธีการแต่งไปใช้
                       และจะเห็นได้ว่า ส่วนนำเรื่องเป็นการกล่าวถึงตำนานเมืองลับแลที่มีความสอดคล้องกับเรื่อง
               พระพุทธเจ้าเลียบโลก ตำนานในกลุ่มนี้มีเนื้อหาเพื่อนำเสนอเรื่องราวการกำเนิดพระธาตุ พระพุทธรูป และ

               ประวัติความเป็นมาของสถานที่ โครงเรื่องของตำนานประกอบด้วย ๓ ตอน คือ พุทธเสด็จ กล่าวถึงเรื่องเหต ุ

               ปรารภ ผู้ตามเสด็จ บุคคลหรือสิ่งที่ทรงพบ การประทานพระธาตุ การรักษาพระธาตุ พุทธทำนาย กล่าวถึงเรื่อง
                                               ์
                                                                                    ุ
                                                                                                     ี่
               พระพุทธเจ้าทรงทำนายว่าเมื่อพระองคปรินิพพานแล้วจะมีผู้นำพระบรมสารีริกธาตมาบรรจุเพิ่มไว้ ณ ทบรรจ ุ
               เส้นเกศานั้น พุทธสถาน คือเรื่องราวราวของการสร้างศาสนวัตถุต่าง ๆ หรือปฏิสังขรณ์ ในตอนนี้มักมี
                                                  80
               ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย





                       78  ประเสริฐ  ณ นคร และปวงคำ  ตยเขียว, ๒๕๓๗, หน้า ๒๐๙.
                                                 ุ้
                       79  วิลักษณ์  ศรีป่าซาง, วรรณกรรมตำนานล้านนา : การศกษาวิธีการสร้าง, ศิลปศาสตรมหา-บัณฑิต สาขาวิชา
                                                                 ึ
               ภาษาและวรรณกรรมล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ๒๕๓๙, หน้า ๑๔๕ - ๑๔๗.
                       80  วิลักษณ์  ศรีป่าซาง, ๒๕๓๙, หน้า ๑๔๕ - ๑๔๗.

                                             การวิเคราะห์วรรณกรรมเมืองลับแล
                                                        หน้า ๑๒๑
   266   267   268   269   270   271   272   273   274   275   276