Page 269 - เมืองลับแล(ง)
P. 269
และได้ทราบว่าพระเจ้ายอดคำทิพย์ไม่มีข้าวัดอุปฐากดูแลรักษา สมเด็จพระนารายณ์ฯ จึงโปรดให้สรงน้ำ
พระพุทธรูป และลงรักปิดทองพระพุทธรูปให้มีความงดงามดังเดิม
เนื้อความที่ ๔๐
้
เหตุนั้นผู้ข้าทั้งหลายจึ่งได้พร้อมกันเขียนหนังสือพื้นตำนานแล้วไดใช้หื้อ เจ้าหมื่นช่อฅำตนกุมเวียงลับ
แลงไจย ผู้ลูกขุนหาญขาก่าน เอาออกมาหื้อหันแก่คฤหัสถ์ นักบวชเจ้าทั้งหลายในเวียงลับแลงไจย ที่นั้น
มีธุเจ้าปู่ครสุวรรณปัญญาญาณได้รจจารแป๋งจารึกไว้กับวัดลับแลงหลวง เมืองลับแลงไจย ตราบต่อเต๊า
ู
ห้าปันพระวสา ก็มีวันนั้น ชะแล กล่าวตำนานพระพุทธรูปเจ้ายอดฅำติ๊บ เมืองลับแลงไจย ตามถ้อย กอ
่
แล้วเท่านี้ก่อนแหล่
้
้
ู
เป็นการกล่าวถึงในขณะที่ได้มีการเขยนหนังสือพื้นตำนานแล้วไดใชให้เจาหมื่นช่อคำ ผู้เป็นลกขุนหาญ
้
ี
ขาก่าน ครองเมืองลับแลงไชย นั้นได้เอาออกมาให้แก่ “คฤหัสถ์” หมายถึงชาวบ้านทั่วไป รวมทั้ง “นักบวชชาว
เจ้า” คือ พระสงฆ์ ทั้งหลายในเวียงลับแลงไชย ที่นั้น บริบทนี้อาจหมายถึงเป็นการนำตำนานนี้มาเทศนาให้
ประชาชนโดยทั่วไปได้รับทราบ ซึ่งมี “ธุเจ้าปู่ครูสุวรรณปัญญาญาณได้รจจารแป๋งจารึกไว้” คือ พระภิกษุชื่อ
สุวรรณปัญญาญาณเป็นผรจนา คือเป็นผู้เรียบเรียงตำนานนี้ขึ้น เขียนไว้ที่วัดลับแลงหลวง เมืองลับแลงไชย
ู้
“ตราบต่อเต๊าห้าปันพระวสา ก็มีวันนั้น ชะแล กล่าวตำนานพระพุทธรูปเจ้ายอดฅำติ๊บ เมืองลับแลง
ไจย ตามถ้อย ก่อแล้วเท่านี้ก่อนแหล่” เป็นการกล่าวให้ตำนานพระเจ้ายอดคำทิพย์ช่วยสืบต่อพระพุทธศาสนา
ถึงห้าพันปี ซึ่งมีเนื้อความแต่เพียงเท่านี้
เมื่อเปรียบเทียบกับตำนานทางพระพุทธศาสนาตามคติความเชื่อแบบล้านนา ได้ยกบทท้ายของตำนาน
ที่สำคัญมาดังนี้
๑) ตำนานมูลศาสนา ได้บอกในตอนสุดท้ายว่า “มูลศาสนานี้ พระพุทธพุกามกับพระพุทธญาณเจา
้
หากรจนาไว้ให้เป็นที่ไหว้และสักการบูชาแก่นรานรทั้งหลาย คฤหัสถ์นักบวชเจ้าทั้งหลาย จงทรงไว้ปฏิบัติไต ่
ตามทำนองคลองแห่งอริยสัปปุริสเจ้าทั้งหลาย อันปฏิบัติมาแต่ก่อน ก็จะได้ถึงยังสุข ๓ ประการ มีนิพพานธรรม
เจ้าอันเป็นยอดแห่งจอมธรรมนั้นเทอด” ซึ่งตำนานมูลศาสนานี้ต้นฉบับใบลานถูกคดลอกมาจนถึง พ.ศ. ๒๓๘๐
ั
ในสมัยรัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
74
74 ตำนานมูลศาสนา, พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๙) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์พระราชทาน
ในงานพระราชทานเพลิงศพหม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์ ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันที่ ๑๗
ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๘, หน้า ๒๘๖.
การวิเคราะห์วรรณกรรมเมืองลับแล
หน้า ๑๑๙