Page 211 - หนังสือเมืองลับแล(ง)
P. 211
ี
่
ต ำนำนพระเจ้ำยอดค ำทิพย์ ฉบับท ๒
ื
ื
ั
คณะทำงานศึกษาประวัติศาสตร์เมืองลบแลได้พยายามสบค้นที่มาของเมืองลับแล ซึ่งไดทำการสบคน
้
้
ข้อมูลต่างๆ จากการกล่าวอ้างจากตำนานพระเจ้ายอดคำทิพย์ ทางคณะฯ ได้พยายามสืบค้นต้นฉบับธัมม์เก่า
ของตำนานพระเจ้ายอดคำทิพย์ก่อนถูกแปลปริวรรตแต่ก็ยังไม่พบ จนกระทั่งเมื่อวันศุกร์ที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ.
๒๕๖๑ ทันตแพทย์ภัทรภูมินทร์ ชัยชมภู, นายดาบฟ้า ไชยลับแลง, นายฉัตรชัย แว่นตา ได้เดินทางมาทวัด
ี่
ท้องลับแลเพื่อค้นหาลานธัมม์ต้นฉบับอีกครั้งบนกุฏิเก่า
เมื่อขึ้นมาบนกุฏิเก่าชั้น ๒ มีตู้พระไตรปิฎกอยู่ ทันตแพทย์ภัทรภูมินทร์ ชัยชมภู เห็นเป็น
ื่
สี่เหลี่ยมผืนผ้าคิดว่าเป็นกรอบรูป นายฉัตรชัย แว่นตา จึงเขาไปหยิบขึ้นมาปรากฏว่าเป็นแฟ้มกระดาษสอการ
เรียน เมื่อเปิดแฟ้มเอกสารพบใบสมัครลูกเสือจำนวน ๑๐ ใบ จากนั้นเป็นกระดาษสมุด ขนาด F๔ เป็นลายยันต ์
แบบล้านนาที่ใช้เขียนกระดาษสาพันกับไส้เทียนจุดบูชาพระพุทธรูป จำนวน ๖ หน้า ถัดไปในหน้าที่ ๗ จึงพบว่า
เป็น “ตำนานฉบับเก๊า พระเจ้ายอดคำทิพย์ วัดลับแลงหลวง” เขียนด้วยดินสอจำนวน ๑๔ หน้า จึงถือเป็น
การค้นพบเอกสารตำนานฯ เป็นครั้งที่ ๒ เพื่อความเข้าใจจึงเรียกตำนานฯ ฉบับนี้เป็นฉบับที่ ๒
ู้
เมื่อพิจารณาพบว่าฉบับที่ ๒ เป็นลายมือผใหญ่ (อายุของลายมือชวง พ.ศ. ๒๕๒๐ - ๒๕๓๐) ในดาน
้
่
สำนวน คล้องจองไพเราะ เชื่อมเป็นตามฉันทลักษณ์ของ “ร่าย” หรือ “ค่าวธัมม์” มากกว่าฉบับที่ ๑ ส่วนฉบับ
ที่ ๑ ฉบับตัวเขียนดินสอเป็นลายมือเด็ก (วัยรุ่น) มักใช้คำซ้ำ มีบางช่วงเนื้อหาตกหล่นหายไปจากเนื้อความใน
ฉบับที่ ๒ ส่วนในฉบับที่ ๒ เนื้อความตอนที่พระแม่กุแข็งเมืองเชียงใหม่ต่อพม่านั้นไม่มี และเรื่องเจ้าสองเรือน
(เจ้าเมืองลับแลงไชย) สมโภชอารักษ์เมืองลับแลงไชย ไม่มีการบรรยายถึงบรรยากาศภาพพจน์ในงานนั้น เป็น
ต้น
การวิเคราะห์วรรณกรรมเมืองลับแล
หน้า ๖๑