Page 701 - หนังสือเมืองลับแล(ง)
P. 701
คร่าวบทที่ ๓๓๗ – ๓๓๙ กล่าวว่า ตนมีบุญ จิ่งย้ายเถิงห้อง เถิงท้องเมืองลับแลง เขิดหัวม้า อันท้าวแต่ง
แปง อันรบแทง แผวนี้ก่อนเจ้า องค์เหนือหัว แห่งพระผู้เผ้า หื้อหัวม้าพอก คืนไป เอาไพร่ไท ฝูงเจ็บบาดไข้ อัน
ละไว้ บ่มาทัน
เขิด อาจหมายถึง ขด (ขยับ เคลื่อน ) หรือหมายถึง ทัน (วิ่งทัน ตามทัน)
พอก หมายถึง พิกพอก (กลับคืน)
ดังนั้นคร่าวบทนี้ควรหมายความว่า กษัตริย์เมืองยองเมื่อหลบหนีมาถึงค่ายทหารพม่าที่ท้องเมืองลับแลง
แล้ว ก็สั่งให้หัวหมู่นายกองทหารม้าที่ให้อยู่รั้งค่ายนั้น ไปช่วยเหลือพาเอาคนที่บาดเจ็บ ซึ่งเดินทางกลับตามมาไม่
ทันกลับคืนมา จากนั้นจึงเสด็จต่อไปยังปางสัก
คร่าวบทที่ ๓๔๐ กล่าวว่า เดือน ๕ แรม ๕ ค่ำ (อังคาร ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๓๑๗) เจ้าฟ้าเมืองยองเสด็จ
มาถึงเมืองแพร่ ริมยม
ั
ี
จากเนื้อหาในคร่าวทั้งหมดอาจแสดงให้เห็นว่า ในครานั้นเมืองลับแลถูกทัพพม่าซึ่งเปนกองทพผสมตแตก
็
แล้วเข้าตั้งค่ายขนาดใหญ่ที่มั่นคงบริเวณท้องเมืองลับแลง โดยใช้เส้นทางเขาพลึงผ่านห้วยเกียงภา ห้วยแม่กั้ง ใน
ิ
การเดนทัพทั้งขาไปและขากลับ
ปัจจุบันมีพื้นที่แห่งหนึ่งที่ยังคงเรียกกันว่า ทุ่งม่าน ตั้งอยู่ติดใจกลางเมืองหรือท้องเมืองลับแลโบราณ ภูมิ
ประเทศเป็นทุ่งกว้างมีลำน้ำแม่พร่องไหลอ้อม มีเนินเขาขนาดเล็กคือ ม่อนจำศีล บนยอดม่อนนี้ปรากฏพบเศษซาก
ก้อนอิฐโบราณ ในการล้างบ่อน้ำเก่าแก่ที่อยู่ติดกับทุ่งม่านนี้ พบกระดูกมนุษย์จำนวนมากที่ก้นบ่อ อาจสันนิษฐานได ้
ว่า ค่ายของพม่าที่ตั้งอยู่บริเวณท้องเมืองลับแลในอดีต อาจเป็นพื้นที่เดียวกันกับทุ่งม่านแห่งนี้
ด่านของเมืองลับแล
หน้า ๖๔