Page 184 - การประชุม HACC Forum ครั้งที่ 13
P. 184
180
08-03 Poster Presentation
ชื่อเรื่อง : บ่อดักฝุ่นผ้า
ผู้นำเสนอ : จินัดดา น้อยตะริ ตำแหน่ง : พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
หน่วยงาน : โรงพยาบาลสระใคร จังหวัดหนองคาย
ความเป็นมาและความสำคัญ : การปฏิบัติงานการซักผ้าต้องมีการอบผ้าแทนการตาก ซึ่งนอกจากทำให้ผ้าแห้งแล้ว
ยังทำให้ผ้าผ่านกระบวนการอบเพื่อฆ่าเชื้อโรคด้วยความร้อนด้วย แต่ในกระบวนการอบผ้าจะมีกระบวนการระบายไอ
ร้อน เศษสิ่งสกปรก เศษสิ่งแปลกปลอมเล็ก ๆ และเศษใยผ้า ที่ทำให้เกิดฝุ่นผ้า ซึ่งเป็นสาเหตุของการปนเปื้อนของ
อากาศสิ่งแวดล้อมภายในโรงพยาบาลและชุมชนใกล้เคียงบริเวณนั้น ซึ่งหากสัมผัสสูดดมเป็นเวลานานอาจก่อให้เกิด
โรคภูมิแพ้ โรควัณโรคปอดหรือโรคหอบหืด เป็นต้น เพื่อลดการสัมผัสสูดดมฝุ่นและลดการฟุ้งกระจายของฝุ่นผ้าตาม
มาตรฐานต้องมีการต่อท่อสูงเหนืออาคารมีระบบการดูดไอร้อนและฝุ่นผ้าซึ่งต้องใช้งบประมาณมากในการติดตั้ง ด้วย
ข้อจำกัดด้านงบประมาณและด้วยบริบทของอาคารซักฟอกที่มีพื้นที่จำกัด หน่วยงานจึงคิดค้นนวัตกรรมบ่อดักฝุ่นผ้า
ด้วยงบประมาณ 4,000 บาทโดยใช้หลักการดักจับฝุ่นผ้าด้วยละอองฝอยน้ำให้ฝุ่นผ้าจับตัวเป็นก้อนภายในบ่อทำให้ฝุ่น
มีน้ำหนักไม่สามารถลอยในอากาศได้ และเจ้าหน้าที่ซักฟอกตักเอาฝุ่นผ้าออกจากบ่อสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง
วัตถุประสงค์/ เป้าหมาย/ เครื่องชี้วัด : 1) ลดการปนเปื้อนของฝุ่นผ้าในสิ่งแวดล้อมโรงพยาบาลและชุมชนใกล้เคียง
2) เพื่อป้องกันการเจ็บป่วยด้วยโรคภูมิแพ้และระบบทางเดินหายใจจากการประกอบอาชีพของบุคลากร 3) เพื่อ
ป้องกันอุบัติการณ์ข้อร้องเรียนเหตุรำคาญจากชุมชนใกล้เคียง
กิจกรรมการพัฒนา : 1) ประชุมเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานหยิบยกปัญหา เพื่อวางแผน และค้นหาวิธีการแก้ไขปัญหา 2)
ประสานงานบริหารเพื่อให้ช่างออกแบบและติดตั้งบ่อดักฝุ่นผ้า โดยใช้หลักการพ่นละอองฝอยน้ำขณะที่มีการระบายไอ
ร้อนและฝุ่นใยผ้าจากเครื่องอบผ้า 3) จัดหาอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้แก่ ท่อปูน ปูน ทราย ท่อ PVC วาล์วเปิด-ปิดน้ำ ปั๊มน้ำ
สั่งทำฝาปิดบ่อด้วยสังกะสีที่ใช้ทำรางน้ำฝน และสปริงเกอร์ฉีดพ่นละอองน้ำ ติดตั้งตำแหน่งที่สูงกว่าท่อระบายจาก
เครื่องอบผ้าเพื่อประสิทธิภาพการดักจับฝุ่นผ้า รวมงบประมาณ 4,000 บาท 4) เปิดวาล์วน้ำเมื่อใช้เครื่องอบผ้าและปิด
เมื่อเลิกใช้เครื่องอบผ้าทุกครั้ง 5) หมั่นตรวจสอบการทำงานของเครื่องปั๊มน้ำ สปริงเกอร์ก่อนปฏิบัติงานทุกครั้ง และ
หมั่นตักฝุ่นผ้าออกจากบ่อสม่ำเสมอสัปดาห์ละ1 - 2ครั้ง
ผลการพัฒนา : 1) การตรวจสอบโดยใช้การสังเกตด้านกายภาพพบว่าฝุ่นผ้าและเศษสิ่งแปลกปลอมตกค้างในบ่อ
มากกว่า 90 % (ไม่พบเศษฝุ่นเกาะตามบริเวณรอบบ่อ) และอยู่ระหว่างดำเนินการตรวจวัดค่าฝุ่นด้วยเครื่องมือที่มี
ความแม่นยำน่าเชื่อถือจากสำนักงานควบคุมโรคเขต 8 อุดรธานี 2) ร้อยละการเจ็บป่วยด้วยโรคภูมิแพ้และระบบ
ทางเดินหายใจจากการปฏิบัติงานของบุคลากรเท่ากับ 0 3)อุบัติการณ์ข้อร้องเรียนเหตุรำคาญจากชุมชนใกล้เคียง 0
ครั้ง 4)ความพึงพอใจของบุคลากรในการใช้นวัตกรรมร้อยละ 90
บทเรียนที่ได้รับ/การนำไปใช้ประโยชน์ : เริ่มทดลองใช้ผลงานนวัตกรรมปี 2559- ปัจจุบัน 1) เจ้าหน้าที่ในหน่วยงาน
มีการทำงานเป็นทีมร่วมกันคิดริเริ่มแนวคิดใหม่ๆในกระบวนการการทำงานในการแก้ไขปัญหาโดยอยู่ภายใต้หลักการ
ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ 2)เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานมีความภาคภูมิใจเมื่อผลลัพธ์ของการเปลี่ยนแปลงกระบวนการ
ทำงานส่งผลในทางที่ดีต่อหน่วยงานและองค์กร 3)ได้รับความเชื่อมั่นจาก รพช. และ รพ.เอกชนบางแห่งในเขตจังหวัด
หนองคายขนาดใกล้เคียงกันเข้าศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้จำนวน 3 แห่ง
คำสำคัญ : ฝุ่นผ้า