Page 3 - ฟิสิกส์นิวเคลียร์
P. 3

2


                                                                   ี
                       นอกจากอนุกรมการสลายของยูเรเนียม-238 พบว่ามีอก 2 อนุกรมซึ่งเป็นการสลายของธาตุ
               กัมมันตรังสีธรรมชาติ ได้แก่ อนุกรมที่เริ่มต้นด้วยยูเรเนียม-235 โดยมีตะกั่ว-208 เป็นธาตุสุดท้ายในอนุกรม
               และอนุกรมที่เริ่มต้นด้วยทอเรียม-232 โดยมีตะกั่ว-208 เป็นธาตุสุดท้ายในอนุกรม

                       ในการสลายของธาตุกัมมันตรังสีในอนุกรมของยูเรเนียม-238 พบว่า อะตอมของพอโลเนียม-218 จะ

               ลดจ านวนลงครึ่งหนึ่งในเวลาเพียง 3.05 นาที ในขณะที่อะตอมของเรเดียม-226 ต้องใช้เวลาถึง 1620 ปี จึงจะ
               ลดจ านวนลงครึ่งหนึ่ง จะเห็นว่า ธาตุกัมมันตรังสีแต่ละชนิดอัตราการสลาย

                       ในปี พ.ศ. 2445 รัดเทอร์ฟอร์ด และซอดดี ได้ตั้งสมมติฐานเพื่อใช้อธิบายการสลายของธาตุ
               กัมมันตรังสี ดังนี้

                       1. ธาตุกัมมันตรังสีจะสลายกลายเป็นธาตุใหม่ด้วยการปล่อยอนุภาคแอลฟาหรืออนุภาคบีตา ธาตุใหม่

               ที่ได้จากการสลายมีสมบัติทางเคมีที่ผิดไปจากธาตุเดิม และธาตุใหม่อาจจะเป็นธาตุกัมมันตรังสีก็ได้
                       2. การสลายของธาตุกัมมันตรังสีไม่ขึ้นกับสภาพแวดล้อมภายนอกนิวเคลียส เช่น อุณหภูมิ ความดัน

               เป็นต้น แต่การสลายจะเป็นไปตามหลักการทางสถิติที่เกี่ยวกับโอกาสและกระบวนการแบบสุ่ม เช่น ถ้ามีธาตุ
               กัมมันตรังสีอยู่จ านวนหนึ่ง เราไม่สามารถบอกได้ว่า นิวเคลียสใดในธาตุนั้นจะสลายก่อนหรือหลัง กล่าวได้ว่า

               ทุกนิวเคลียสมีโอกาสเท่าๆ กันที่จะสลายในช่วงเวลาหนึ่ง และโอกาสที่ว่านี้จะไม่ขึ้นกับสภาพแวดล้อมและเวลา

               นอกจากนี้ อัตราการสลายของนิวเคลียสของธาตุกัมมันตรังสีขณะหนึ่งจะแปรผันตรงกับจ านวนนิวเคลียส
               ของธาตุกัมมันตรังสีนั้นที่มีอยู่ในขณะนั้น

                       ถ้าให้       เป็จ านวนนิวเคลียสของธาตุกัมมันตรังสีที่มีอยู่ขณะเวลา   

                              ∆    เป็นจ านวนนิวเคลียสที่สลายไปในช่วงเวลาสั้นๆ  ∆   นับจากเวลา   
                              ∆  
                       ดังนั้น     แสดงจ านวนนิวเคลียสที่สลายไปในหนึ่งหน่วยเวลา คืออัตราการสลายของนิวเคลียส ณ
                              ∆  
               เวลา    ปริมาณนี้เป็นปริมาณทแปรผันตรงกับจ านวนของนิวเคลียสที่มีขณะนั้น  เขียนความสัมพันธ์ ได้ว่า
                                        ี่

                                                      ΔN
                                                      ∆t   ∝ N


                       หรือ                            ∆N
                                                            = -λN
                                                       ∆t
                                                                                                                  (20.1)

               โดยที่  λ เป็นค่าคงตัวของการแปรผัน มีค่าขึ้นอยู่กับนิวเคลียสของธาตุกัมมันตรังสีค่าคงตัวนี้ เรียกว่า

               ค่าคงตัวการสลาย (Decay constant) เครื่องหมายลบแสดงการลดจ านวนของนิวเคลียสเมื่อเวลาผ่านไป
                       ถ้าช่วงเวลา Δ    มีค่าน้อยมาก (∆   → 0) เราสามารถใช้ความรู้แคลคูลัส เขียนสมการ (20.1)

               ได้เป็น
                                                    ∆           
                                                lim      =      = −    
                                               ∆  →0 ∆          
   1   2   3   4   5   6   7   8