Page 116 - E-Book-Teerapong-รวมผลงานSandbox
P. 116
บทที่ 1
บทนำ
ที่มา และความสำคัญของโครงการ
ในปัจจุบันหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติต่าง ๆ เริ่มมีบทบาทในชีวิตประจำวัน
และมีแนวโน้มที่จะมีการใช้งานโดรนและหุ่นยนต์อัตโนมัติสำหรับการให้บริการ
และการอำนวยความสะดวกมากขึ้น ปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อการควบคุมโดรน/หุ่นยนต์อัตโนมัติคือ
เวลาแฝง (latency) ในการรับส่งข้อมูล ทั้งในส่วนของข้อมูลขาเข้าจากเซนเซอร์ต่าง ๆ
ไปยังส่วนประมวลผลและควบคุม และสัญญาณขาออกจากส่วนประมวลผล
และควบคุมไปยังส่วนขับเคลื่อนของโดรนและหุ่นยนต์อัตโนมัติ เดิมการสื่อสารไร้สายผ่านสัญญาณ
3G/4G นั้นมีเวลาแฝงสูงจนทำให้การควบคุมโดรน และหุ่นยนต์อัตโนมัติไม่สามารถ
เป็นไปได้อย่างราบรื่น การเข้ามาของเทคโนโลยี 5G จึงเปิดโอกาสในการพัฒนาและประยุกต์ใช้งาน
โดรน/หุ่นยนต์อัตโนมัติผ่านโครงข่ายไร้สายรูปแบบใหม่
วัตถุประสงค์
ทดสอบความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และขีดจำกัดต่าง ๆ ของการใช้สัญญาณ 5G
เพื่อควบคุมโดรนและหุ่นยนต์อัตโนมัติ เปรียบเทียบกับการสื่อสารผ่านรูปแบบอื่น ๆ (เช่น 3G/4G
NB-IoT) โดยหัวข้อการวิจัยหลักมีสองเรื่อง คือ
1. การประยุกต์ใช้ Massive MIMO กับการควบคุมโดรนผ่านระบบสัญญาณ 5G
2. การทดสอบระยะที่เป็นไปได้ของโดรนผ่านระบบสัญญาณ 5G
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
วัดขีดความสามารถของการรับส่งข้อมูลและการควบคุมโดรนและหุ่นยนต์อัตโนมัติ
ผ่านเครือข่ายการสื่อสาร 5G ได้แก่ เวลาแฝง แบนด์วิดท์ ความแรง ความต่อเนื่อง ระยะ
ขอบเขตและพิกัดความสูงที่ติดต่อได้ของสัญญาณ
ี่
ั
[เลขทสัญญารบทุน] [หน้า]
แบบ กทปส. ME-003