Page 121 - E-Book-Teerapong-รวมผลงานSandbox
P. 121
จากการทดลองส่งข้อมูลผ่านทางระบบ NB-IoT พบว่าเวลาแฝงของการใช้งานอาจมีมากถึง 3
วินาที อีกทั้งแบนด์วิดท์ในการรับข้อมูลยังน้อยมาก ความถี่ในการรับข้อมูลทำได้เพียง 1 วินาที
ไม่เพียงพอต่อการควบคุมการเคลื่อนที่ซึ่งต้องการการตอบสนองที่ทันท่วงที ดังนั้น
จึงมีความเป็นไปได้ที่จะควบคุมโดรน จากเครือข่ายสัญญาณ 5G จากคุณสมบัติเฉพาะ
ที่มีเวลาแฝงน้อยและมีแบนด์วิดท์ที่มากขึ้น อย่างไรก็ตามโมดูลการสื่อสารผ่านทางระบบ 5G
ยังไม่มีจำหน่ายในท้องตลาด การทดสอบการสื่อสารในโดรนจึงยังทำไม่ได้ในโครงการนี้
บทที่ 4
สรุปผลการวิจัย และข้อเสนอแนะ
สรุปผลการวิจัย
ในขณะนี้ยังไม่มีโมดูลในการสื่อสารผ่านทางระบบ 5G จำหน่ายในท้องตลาด
ทำให้เชื่อมต่อหุ่นยนต์หรือโดรนเข้ากับระบบ 5G นั้นยังเป็นไปได้ยากในการติดตั้งและใช้งานจริง
อีกทั้งการส่งข้อมูลแบบ peer- o -peer ระหว่างอุปกรณ์โดยตรงนั้นเป็นไปได้ยาก
t
ในเครือข่ายสัญญาณมือถือ จำเป็นต้องมีแอพพลิเคชั่นที่พัฒนาขึ้นมาโดยเฉพาะเพื่อใช้งาน
เครือข่ายสัญญาณมือถือทั้งระบบปัจจุบันและระบบ 5G การทดสอบระบบ 5G จึงทำได้
เพียงในการควบคุมหุ่นยนต์อัตโนมัติเท่านั้น โดยมีการเชื่อมต่อตามภาพที่ 3 ซึ่งผลการใช้งานนั้น
สามารถใช้เครือข่าย 5G ควบคุมหุ่นยนต์จากระยะไกลได้ โดยเวลาแฝงและเวลาประวิงในการ
สื่อสารนั้นมีความใกล้เคียงกับการเชื่อมต่อหุ่นยนต์ผ่านทางอินเตอร์เน็ตโดยตรง
สรุปผลการประเมินการดำเนินงานโครงการด้านประสิทธิภาพและประสิทธิผล
ความเป็นไปได้ของการใช้งานระบบเซลลูลาร์ในการควบคุมโดรน
ความเป็นไปได้ของการใช้งานระบบเซลลูลาร์ (cellular) ในการควบคุมโดรน
สามารถแบ่งได้เป็น 3 รูปแบบ ดังนี้
รูปแบบที่ 1
ใช้การติดตั้งโมดูลการสื่อสารแบบ 5G บนโดรนสื่อสารกับเครือข่าย 5G โดยตรง (ภาพที่ 1)