Page 122 - E-Book-Teerapong-รวมผลงานSandbox
P. 122
ภาพที่ 5 การใช้งานระบบเซลลูลาร์ในการควบคุมโดรน รูปแบบที่ 1
ที่มา : ศิริชัย พรสรายุทธ ออกแบบเมื่อ กันยายน 2563
การใช้งานรูปแบบนี้มีข้อได้เปรียบคือ ความเป็นไปได้ในการบังคับโดรนจากระยะไกล
ได้ดีกว่ารูปแบบอื่น เนื่องจากคุณสมบัติของเครือข่าย 5G ที่มีเวลาแฝงต่ำ และมีแบนด์วิดท์
(bandwidth) ที่สูง โดยที่การเก็บข้อมูลต่าง ๆ ของโดรนจะถูกส่งกลับไปประมวลผลบนคลาวด์
(cloud) และส่งข้อมูลกลับมาที่โดรนแบบเรียลไทม์ (real-time) จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถ
ในการประยุกต์ใช้งานโดรนแบบต่าง ๆ ได้
อย่างไรก็ดีการบังคับโดรนจากระยะไกลโดยที่ไม่มีคนบังคับที่มองเห็นโดรนได้โดยตรง
จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลจากเซนเซอร์ต่าง ๆ จำนวนมาก เพื่อใช้ในการหลบหลีกสิ่งกีดขวาง เช่น
กล้องรอบทิศทาง เซนเซอร์ตรวจจับวัตถุ (proximity sensor) หรือ เซนเซอร์วัดระยะ (distance
ิ่
sensor) ซึ่งการเพิ่มอุปกรณ์เหล่านี้เข้าไปในระบบของโดรน อาจทำให้น้ำหนักของโดรนเพมขึ้นมาก
ทำให้สมรรถนะการบินของโดรนลดลงได้ อีกทั้งยังต้องการ แบนด์วิดท์เพิ่มขึ้นเพื่อใช้รับ-
ส่งข้อมูลดังกล่าวอีกด้วย
เนื่องจากในการใช้งานโดรนนั้น น้ำหนักโดยรวมของโดรนจะส่งผลโดยตรงต่อระยะเวลา
และขอบเขตการใช้งานของโดรนเป็นอย่างมาก ดังนั้น ในการเชื่อมต่อ 5G จึงต้องใช้โมดูล
ขนาดเล็กในระดับที่เป็นระบบฝังตัว (embedded system) ที่สามารถติดตั้งลงไปบนโดรนได้
ทั้งนี้ในขณะเริ่มต้นโครงการ เทคโนโลยี 5G ยังเป็นเทคโนโลยีที่ใหม่ ทำให้ยังขาดอุปกรณ์
สื่อสารสำหรับการเชื่อมต่อ 5G ที่เป็นโมดูลขนาดเล็กอยู่
นอกจากนี้กฎหมายในปัจจุบันยังห้ามการบินแบบเกินระยะการมองเห็น (Beyond Visual
Line Of Sight: BVLOS) ทำให้การควบคุมโดรนจากระยะไกลยังติดอยู่ในขั้นการทดลองเท่านั้น