Page 124 - E-Book-Teerapong-รวมผลงานSandbox
P. 124
บนโทรศัพท์มือถือ และการรับส่งข้อมูลระหว่างระบบควบคุมโดรนและโทรศัพท์มือถือ
ที่เชื่อมต่อกับระบบ 5G นั้นจะมีแบนด์วิดท์การรับส่งข้อมูลที่จำกัด อาจใช้ส่งข้อมูลประเภทภาพ
ที่มีขนาดใหญ่กลับไปคำนวณบนคลาวด์คอมพิวเตอร์ไม่ได้
ความเป็นไปได้ของการใช้งานโดรนผ่านระบบเซลลูลาร์
การเชื่อมต่อผ่านเครือข่ายเซลลูลาร์ นั้นมีข้อด้อยอยู่ประการหนึ่งคือไม่มี IP address
ตรงเชื่อมต่อไปยังโดรนได้ จำเป็นต้องมีการพัฒนาซอฟท์แวร์เฉพาะที่ใช้สื่อสารระหว่างโดรน
ั
และคลาวด์คอมพิวเตอร์ ซึ่งเครือข่ายแบบต่าง ๆ จะมีเวลาแฝงและแบนด์วิดท์แตกต่างกนออกไป
การใช้งาน 2G 3G และ 4G นั้นสามารถใช้สื่อสารและรับส่งข้อมูลที่ไม่ต้องการการตอบสนอง
ที่รวดเร็วกับโดรนได้ เช่น แผนการบิน การตรวจสอบสถานะต่าง ๆ ของโดรน ส่วน NB-iot
นั้นถึงแม้จะมีโมดูลที่สามารถติดตั้งได้บนโดรนอย่างง่าย แต่ใช้กับข้อมูลขนาดเล็ก
เพื่อดูสถานะบางอย่างได้เท่านั้น ส่วน 5G นั้นมีความเป็นไปได้ที่หากติดตั้งลงไปบนโดรน
จะสามารถรับส่งข้อมูลแบบเรียลไทม์ และใช้ควบคุมโดรนจากระยะไกลได้
วิเคราะห์การใช้งานโดรนในการประยุกต์แบบต่าง ๆ
การใช้งานโดรนเพื่อการเกษตร
ตัวอย่างหนึ่งของการใช้งานโดรนเพื่อการเกษตรนั้นคือการใช้โดรนขนาดใหญ่
ฉีดพ่นสารเคมีให้กับพืชไร่ ซึ่งช่วยลดระยะเวลาการทำงานของเกษตรกร ได้มากถึง 20 เท่า
อีกทั้งยังลดการสัมผัสกับสารเคมีอันตรายที่เกษตรกรอาจได้รับ (ภาพที่ 3) อย่างไรก็ตาม
การใช้งานโดรนเพื่อการเกษตรนั้นส่วนใหญ่จะอยู่ในพนที่ชนบท ซึ่งขัดกับคุณสมบัติหลักของเครือข่าย
ื้
5G ที่เป็น Massive MIMO ที่อาจไม่คุ้มค่าในเชิงเศรษฐศาสตร์สำหรับการติดตั้งเสาสัญญาณ 5G
ในพื้นที่ดังกล่าว