Page 123 - E-Book-Teerapong-รวมผลงานSandbox
P. 123
รูปแบบที่ 2
การใช้โดรนแบบมีผู้บังคับโดรนอยู่ในพื้นที่การใช้งานและใช้การสื่อสารในย่าน 2.4GHz
แบบเฉพาะ ในการสื่อสารระหว่างโดรนและผู้บังคับ โดยผู้บังคับจะเชื่อมต่อกับคลาวด์คอมพิวเตอร์
(cloud computer) ผ่านเครือข่าย 5G (ภาพที่ 2)
ภาพที่ 6 ระบบเซลลูลาร์ในการควบคุมโดรน รูปแบบที่ 2
ที่มา : ศิริชัย พรสรายุทธ ออกแบบเมื่อ กันยายน 2563
การใช้งานรูปแบบนี้ไม่จำเป็นต้องมีการพัฒนาหรือแก้ไขฮาร์ดแวร์ของโดรน
การสื่อสารเป็นรูปแบบเดิม มีเพียงซอฟท์แวร์ฝั่งผู้บังคับที่อยู่บนคอมพิวเตอร์พกพา (laptop
computer) หรือ เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ชนิดที่มีระบบรับข้อมูลการขีดเขียนด้วยปากกา
บนจอภาพ (tablet PC) ที่ต้องมีการแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อส่งข้อมูลกลับไปประมวลผล
ที่คลาวด์คอมพิวเตอร์ (cloud computer) ทำให้การทดสอบหรือพัฒนาเป็นไปได้รวดเร็ว
อย่างไรก็ดี ข้อมูลที่ส่งกลับไปยังประมวลผลที่คลาวด์คอมพิวเตอร์ มีคอขวดของการรับ-
ส่งอยู่ที่การสื่อสารระหว่างผู้บังคับกับโดรนที่ยังไม่มีความสามารถแบบเรียลไทม์
ทำให้การประมวลผลที่คลาวด์ทำได้จำกัดและไม่เรียลไทม์ อาจทำให้ดึงความสามารถของเครือข่าย
5G ออกมาได้ไม่เต็มที่
การใช้งานในรูปแบบนี้จึงต้องการคอมพิวเตอร์พกพาที่มีความสามารถในการเชื่อมต่อเข้ากับเ
ครือข่าย 5G เพื่อใช้ในการควบคุมโดรน
รูปแบบที่ 3
โดรนในรูปแบบที่ 3 มีการออกแบบระบบคล้ายกับรูปแบบที่ 1 แต่ใช้โทรศัพท์มือถือที่รองรับ
การเชื่อมต่อกับระบบ 5G เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่าง ๆ ภายในตัวโดรน ข้อดีและข้อเสียส่วนใหญ่
จึงเหมือนกับรูปแบบที่ 1 เว้นแต่การพัฒนาซอฟท์แวร์จะต้องเป็นซอฟท์แวร์เฉพาะที่พัฒนา