Page 41 - แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป.3 เทอม 2
P. 41

(ตัวอย่างคำตอบ การที่จะทำให้ก้อนกระดาษเคลื่อนที่ต้องอาศัยแรงผลักของนิ้วมือที่กระทำกับช้อน

               พลาสติก และแรงผลักของช้อนพลาสติกที่ส่งให้ก้อนกระดาษเคลื่อนที่ ยิ่งแรงผลักของนิ้วมือมาก ช้อนพลาสติก
               ก็จะยิ่งส่งแรงผลักก้อนกระดาษมากเช่นกัน)


                     ขั้นขยายความรู้ (Elaboration)
                     1. นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันสรุปผลการทำกิจกรรมและสรุปสิ่งที่เข้าใจเป็นความรู้ร่วมกันเกี่ยวกับ ผล
               ของแรงที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ของวัตถุว่า การที่จะทำให้ก้อนกระดาษเคลื่อนที่ต้องอาศัยแรงผลัก
               ของนิ้วมือที่กระทำกับช้อนพลาสติก และแรงผลักของช้อนพลาสติกที่ส่งให้ก้อนกระดาษเคลื่อนที่ ยิ่งแรงผลัก
               ของนิ้วมือมาก ช้อนพลาสติกก็จะยิ่งส่งแรงผลักก้อนกระดาษมากเช่นกัน


                   ขั้นประเมิน (Evaluation)
                       1. นักเรียนประเมินตนเอง โดยพูดแสดงความรู้สึกหลังการเรียน ในประเด็นต่อไปนี้
                              - สิ่งที่นักเรียนได้เรียนรู้ในวันนี้คืออะไร

                              - นักเรียนมีส่วนร่วมกิจกรรมในกลุ่มมากน้อยเพียงใด
                              - เพื่อนนักเรียนในกลุ่มมีส่วนร่วมกิจกรรมในกลุ่มมากน้อยเพียงใด

                              - นักเรียนพึงพอใจกับการเรียนในวันนี้หรือไม่ เพียงใด
                              - นักเรียนจะนำความรู้ที่ได้นี้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตนเอง ครอบครัว และสังคมทั่วไป

                       ได้อย่างไรจากนั้นแลกเปลี่ยนตรวจสอบขั้นตอนการทำงานทุกขั้นตอนว่าจะเพมคุณค่าไปสู่สังคม
                                                                                     ิ่
                       เกิดประโยชน์ต่อสังคมให้มากขึ้นกว่าเดิมในขั้นตอนใดบ้าง สำหรับการทำงานในครั้งต่อไป

               11. สื่อการเรียนรู้และแหล่งเรียนรู้ (Learning Medias and Resources)

                      1. สื่อการเรียนรู้ PowerPoint

                      2. หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เล่ม 2
                      3. ใบกิจกรรมที่ 5.1 แรงผลักวัตถุ

               12. การวัดผลและประเมินผล (Assessment and Evaluation)


                   คุณลักษณะที่ต้องการวัด         วิธีการวัด          เครื่องมือ       เกณฑ์การประเมิน
                  1. นักเรียนอธิบายผลของ   1.ประเมินการตอบ        1. แบบประเมิน    ได้คะแนนร้อยละ 60 ขึ้นไป
                  แรงต่อการเปลี่ยนแปลงการ คำถาม                   การทำการตอบ      = ผ่านเกณฑ์


                  เคลื่อนที่ของวัตถุได้ (K)                       คำถาม

                  1. นักเรียนปฏิบัติกิจกรรม  1.ประเมินการนำเสนอ   1. แบบประเมิน    ได้คะแนนร้อยละ 60 ขึ้นไป
                  แรงผลักวัตถุได้ (P)      หน้าชั้นเรียน          การนำเสนอหน้า    = ผ่านเกณฑ์


                                                                  ชั้นเรียน
                  1. มีความสนใจใฝ่รู้หรือ  1..การสังเกตและ        1.แบบประเมิน     ได้คะแนนระดับ 2 ขึ้นไป =
                  อยากรู้อยากเห็น (A)      ประเมินผลพฤติกรรม      พฤติกรรม         ผ่านเกณฑ์
                                           รายบุคคล               รายบุคคล

                                           2. การประเมินลักษณะ    2.แบบประเมนิ
                                           อันพึงประสงค์          คุณลักษณะอันพึง

                                                                  ประสงค์
   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46