Page 40 - แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป.3 เทอม 2
P. 40

9. ภาระงาน/ชิ้นงาน (Products /Assignments )

                   1. ใบกิจกรรมที่ 5.1 แรงผลักวัตถุ

               10. กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (Learning Activities)
                      จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Process) ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้

                     ขั้นสร้างความสนใจ (Engagement)

                     1.นักเรียนร่วมกันสังเกตสิ่งรอบข้าง เมื่อวัตถุหนึ่งเคลื่อนที่อยู่จะดูเหมือนว่ามีวัตถุบางอย่างที่อยู่กับที่
               กำลังเคลื่อนที่อยู่ด้วย เช่น นั่งในรถที่กำลังเคลื่อนที่ไปข้างหน้า แต่เรามองเห็นเหมือนว่าทิวทัศน์ข้างทาง
               เคลื่อนที่ผ่านไป ดังนั้น นักเรียนสังเกตว่าวัตถุใดเคลื่อนที่และมีกรอบอ้างอิงใดช่วยบอกให้รู้ว่าวัตถุกำลัง

               เคลื่อนที่ จากนั้นผู้แทนนักเรียนตั้งประเด็นปัญหาเพื่อให้นักเรียนเกิดความสงสัยและต้องการหาคำตอบ
               ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยร่วมกันตอบคำถาม ดังนี้
                     - เราจะทราบได้อย่างไรว่า วัตถุมีการเคลื่อนที่
                       (ตัวอย่างคำตอบ วัตถุมีการเคลื่อนที่จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยมีสิ่งที่บอกให้เห็นการเปลี่ยน

               ตำแหน่งของวัตถุ)

                   ขั้นสำรวจและค้นหา (Exploration)
                       1. นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4 คน คละนักเรียนเก่ง ปานกลาง และอ่อน

                       2. นักเรียนออกมาเปิด-ปิดประตูชั้นเรียน เพื่อนในชั้นเรียนร่วมกันสังเกต แล้วร่วมกันสนทนาถึงการทำ
               กิจกรรมต่าง ๆ ว่า เราต้องใช้แรง ซึ่งมี 2 ลักษณะ คือ แรงดึงและแรงผลัก จากนั้นผู้แทนนักเรียน 2-3 คน

               ออกมาแสดงท่าทางออกแรงดึงและแรงผลัก
                       3. นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันทำกิจกรรมที่ 5.1 เรื่อง แรงผลักวัตถุ และบันทึกผลการทำกิจกรรม

                     ขั้นอธิบายและลงขอสรุป (Explanation)
                                     ้
                       1. นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอผลการทำกิจกรรมหน้าชั้นเรียน เพื่อเปรียบเทียบและตรวจสอบความ
               ถูกต้อง

                       2. นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันวิเคราะห์ อภิปราย และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับผลการทำกิจกรรม
               โดยร่วมกันตอบคำถามหลังทำกิจกรรม ดังนี้

                       - แรงที่ช้อนพลาสติกกระทำต่อกระดาษเป็นแรงดึงหรือแรงผลัก
                       (แรงผลัก)
                       - สิ่งใดเป็นสาเหตุที่ทำให้ก้อนกระดาษเคลื่อนที่

                       (แรงผลักจากช้อนพลาสติก)
                       - แรงที่นิ้วมือกระทำต่อช้อนพลาสติกเป็นแรงชนิดใด

                       (แรงกดหรือแรงผลัก)
                       - การผลักช้อนพลาสติกด้วยแรงต่างกัน ส่งผลต่อการเคลื่อนที่ของก้อนกระดาษหรือไม่ อย่างไร

                       (ตัวอย่างคำตอบ ส่งผล คือ ถ้าออกแรงผลักช้อนมาก ช้อนจะเกิดแรงผลักก้อนกระดาษมาก ทำให้ก้อน
               กระดาษเคลื่อนที่ได้ไกล)

                       - สรุปผลการทดลองได้ว่าอย่างไร
   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45