Page 45 - แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป.3 เทอม 2
P. 45

9. ภาระงาน/ชิ้นงาน (Products /Assignments )

                   1. สมุดภาพกิจกรรมในชีวิตประจำวันที่ใช้แรงดึงหรือแรงผลัก

               10. กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (Learning Activities)

                   จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Process) ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้


                     ขั้นสร้างความสนใจ (Engagement)
                     1.นักเรียนร่วมกันสังเกตสิ่งรอบข้าง เมื่อวัตถุหนึ่งเคลื่อนที่อยู่จะดูเหมือนว่ามีวัตถุบางอย่างที่อยู่กับที่
               กำลังเคลื่อนที่อยู่ด้วย เช่น นั่งในรถที่กำลังเคลื่อนที่ไปข้างหน้า แต่เรามองเห็นเหมือนว่าทิวทัศน์ข้างทาง

               เคลื่อนที่ผ่านไป ดังนั้น นักเรียนสังเกตว่าวัตถุใดเคลื่อนที่และมีกรอบอ้างอิงใดช่วยบอกให้รู้ว่าวัตถุกำลัง
               เคลื่อนที่ จากนั้นผู้แทนนักเรียนตั้งประเด็นปัญหาเพื่อให้นักเรียนเกิดความสงสัยและต้องการหาคำตอบ
               ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยร่วมกันตอบคำถาม ดังนี้

                     - เราจะทราบได้อย่างไรว่า วัตถุมีการเคลื่อนที่
                       (ตัวอย่างคำตอบ วัตถุมีการเคลื่อนที่จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยมีสิ่งที่บอกให้เห็นการเปลี่ยน
               ตำแหน่งของวัตถุ)

                   ขั้นสำรวจและค้นหา (Exploration)

                       1. นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4 คน คละนักเรียนเก่ง ปานกลาง และอ่อน
                       2. นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกัน หาภาพจากนิตยสาร สื่อสิ่งพิมพ์ หรืออินเทอร์เน็ต เกี่ยวกับกิจกรรมใน
               ชีวิตประจำวันที่ใช้แรงดึงหรือแรงผลัก จากนั้นรวบรวม นำมาจัดจำแนก ออกแบบและจัดทำเป็นสมุดภาพ

               จัดทำเป็นชิ้นงาน

                                     ้
                     ขั้นอธิบายและลงขอสรุป (Explanation)
                      1. นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอผลการทำกิจกรรมหน้าชั้นเรียน เพื่อเปรียบเทียบและตรวจสอบความ
               ถูกต้อง
                      2.  นักเรียนร่วมกันอภิปรายสรุปเกี่ยวกับวิธีการทำงานให้เห็นการคิดเชิงระบบและวิธีการทำงานที่มี

               แบบแผน

                     ขั้นขยายความรู้ (Elaboration)
                                                                                                     ื่
                     1. นักเรียนร่วมกันคัดเลือกผลงานที่ดีเด่นจัดแสดงหน้าชั้นเรียน หรือมอบให้ห้องวิทยาศาสตร์ เพอเป็น
               แหล่งการเรียนรู้ให้นักเรียนชั้นอื่น ๆ

                   ขั้นประเมิน (Evaluation)

                       1. นักเรียนประเมินตนเอง โดยพูดแสดงความรู้สึกหลังการเรียน ในประเด็นต่อไปนี้
                              - สิ่งที่นักเรียนได้เรียนรู้ในวันนี้คืออะไร

                              - นักเรียนมีส่วนร่วมกิจกรรมในกลุ่มมากน้อยเพียงใด
                              - เพื่อนนักเรียนในกลุ่มมีส่วนร่วมกิจกรรมในกลุ่มมากน้อยเพียงใด
                              - นักเรียนพึงพอใจกับการเรียนในวันนี้หรือไม่ เพียงใด

                              - นักเรียนจะนำความรู้ที่ได้นี้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตนเอง ครอบครัว และสังคมทั่วไป

                                                                                     ิ่
                       ได้อย่างไรจากนั้นแลกเปลี่ยนตรวจสอบขั้นตอนการทำงานทุกขั้นตอนว่าจะเพมคุณค่าไปสู่สังคม
                       เกิดประโยชน์ต่อสังคมให้มากขึ้นกว่าเดิมในขั้นตอนใดบ้าง สำหรับการทำงานในครั้งต่อไป
   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50