Page 49 - แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป.3 เทอม 2
P. 49

10. กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (Learning Activities)

                   จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Process) ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้


                     ขั้นสร้างความสนใจ (Engagement)
                     1. นักเรียนเข้าสู่กิจกรรม โดยร่วมกันตอบคำถามสำคัญกระตุ้นความคิด ดังนี้
                     - วัตถุมีการเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่อย่างไรบ้าง

                   (แรงมีผลต่อการเคลื่อนที่ของวัตถุ เราต้องใช้แรงดึงหรือแรงผลักมากระทำจึงทำให้วัตถุที่อยู่นิ่งเกิดการ
               เคลื่อนที่ หรือทำให้วัตถุที่กำลังเคลื่อนที่เกิดการเคลื่อนที่ช้าลง เคลื่อนที่เร็วขึ้น หยุดการเคลื่อนที่ หรือเปลี่ยน
               ทิศทาง)


                   ขั้นสำรวจและค้นหา (Exploration)
                       1. นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4 คน คละนักเรียนเก่ง ปานกลาง และอ่อน
                       2. นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันทำกิจกรรมที่ 5.2 เรื่อง การเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ของวัตถุ และ

               บันทึกผลการทำกิจกรรม

                                     ้
                     ขั้นอธิบายและลงขอสรุป (Explanation)
                      1. นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอผลการทำกิจกรรมหน้าชั้นเรียน เพื่อเปรียบเทียบและตรวจสอบความ
               ถูกต้อง
                      2.  นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันวิเคราะห์ อภิปราย และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับผลการทำกิจกรรม โดย
               ร่วมกันตอบคำถามหลังทำกิจกรรม ดังนี้

                      - ลูกปิงปองที่ถูกกระทบเปลี่ยนจากอยู่นิ่งเป็นเคลื่อนที่ได้อย่างไร
                      (ตัวอย่างคำตอบ  ลูกปิงปองที่ถูกกระทบเปลี่ยนจากอยู่นิ่งเป็นเคลื่อนที่ โดยถูกลูกปิงปองอกลูกเคลื่อนที่
                                                                                                ี
               เข้ากระทบ)

                      - ลูกปิงปองที่เคลื่อนที่เข้ากระทบเปลี่ยนจากเคลื่อนที่เป็นหยุดนิ่งได้อย่างไร
                      (ตัวอย่างคำตอบ เพราะเคลื่อนที่เข้ากระทบกับลูกปิงปองที่แขวนอยู่นิ่ง)
                      - ถ้าต้องการให้ลูกปิงปองที่ถกกระทบเคลื่อนที่ได้ไกลขึ้นจะทำอย่างไร
                                              ู
                      (ตัวอย่างคำตอบ ออกแรงกระทำต่อลูกปิงปองมากขึ้น)
                      - แรงที่มากระทำต่อวัตถุสามารถทำให้วัตถุเปลี่ยนจากเคลื่อนที่เป็นหยุดนิ่งได้หรือไม่

                      (ได้)
                      - สรุปผลการทดลองว่าอย่างไร
                      (ลูกปิงปองทั้ง 2 ลูกเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่เมื่อมีแรงมากระทำ คือ แรงที่ลูกปิงปองลูกหนึ่งเคลื่อนที่

               กระทบกับอีกลูกหนึ่ง ทำให้ลูกปิงปองที่อยู่นิ่งเปลี่ยนเป็นเคลื่อนที่ และลูกปิงปองที่เคลื่อนที่เปลี่ยนเป็นหยุดนิ่ง)

                     ขั้นขยายความรู้ (Elaboration)
                     1. นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันสรุปผลการทำกิจกรรมและสรุปสิ่งที่เข้าใจเป็นความรู้ร่วมกันเกี่ยวกับ
               ลักษณะการเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ของวัตถุว่า ลูกปิงปองทั้ง 2 ลูกเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่เมื่อมีแรงมา

               กระทำ คือ แรงที่ลูกปิงปองลูกหนึ่งเคลื่อนที่กระทบกับอีกลูกหนึ่ง ทำให้ลูกปิงปองที่อยู่นิ่งเปลี่ยนเป็นเคลื่อนที่
               และลูกปิงปองที่เคลื่อนที่เปลี่ยนเป็นหยุดนิ่ง

                   ขั้นประเมิน (Evaluation)
                       1. นักเรียนประเมินตนเอง โดยพูดแสดงความรู้สึกหลังการเรียน ในประเด็นต่อไปนี้
   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54