Page 79 - 1.ประวัติสาสตร์ชาติไทย ประถม สค.12024
P. 79
70
4. ใช้ทางน้ าเป็นเส้นทางคมนาคมได้ตลอดทั้งปี
5. ท าให้สามารถขยายพื้นที่เพาะปลูกได้มากขึ้น
แหล่งน้ าที่อยู่บริเวณรอบเมืองสุโขทัย แบ่งออก เป็น 2 บริเวณ คือ
1. การชลประทานในเขตชุมชนวัดพระพายหลวง
ชุมชนวัดพระพายหลวงมีรูปแบบการสร้างเมืองทรงเรขาคณิต แสดงให้เห็นว่า
เป็นชุมชนที่ได้รับการจัดระเบียบอย่างดี เชื่อว่าอิทธิพลการสร้างเมืองแบบนี้ได้รับมาจาก
กลุ่มผู้นับถือศาสนาฮินดู ซึ่งมีความช านาญในการจัดรูปผังเมืองและการชลประทานเพื่อให้
สอดคล้องกับแนวคิดทางศาสนา
ในขณะที่พื้นที่โดยรอบเป็นพื้นที่หลักทางเศรษฐกิจของชุมชน การสร้างฝายน้ าล้น
และอ่างเก็บน้ า ได้สร้างขึ้นเพื่อประโยชน์ในการป้องกันน้ าไม่ให้ไหลท่วมพื้นที่ชุมชน และกักเก็บ
น้ าไว้ใช้ในการเกษตรกรรม
จากการส ารวจได้พบร่องน้ าที่ไหลมาจากช่องโซกม่วงกล้วยและเขาสะพานหิน
ทางทิศเหนือ เข้าสู่มุมทิศตะวันตกเฉียงเหนือและทิศตะวันตกเฉียงใต้ของชุมชน และร่องน้ า
ที่ไหลผ่านช่องเขาสะพานหินกับเขาเจดีย์งามจะไหลเข้าสู่ชุมชนวัดพระพายหลวงเช่นกันจาก
ระดับความสูงของแหล่งต้นน้ าที่มีความชันค่อนข้างมาก ท าให้น้ าที่ไหลลงมามีความรุนแรง
จึงต้องมีการสร้างคันดินเพื่อชะลอความเร็วของน้ าในบริเวณทิศตะวันตกของวัดศรี
2. การชลประทานในเขตเมืองสุโขทัย
การสร้างเมืองใหม่ในบริเวณไม่ห่างไกลจากที่ตั้งชุมชนเดิม อาจเกิดจากการ
ขยายตัวของชุมชน หรือที่ตั้งเมืองเก่าอาจเกิดจากปัญหาภาวะทางธรรมชาติที่อาจเกิดความ
ไม่เหมาะสมในทางใดทางหนึ่ง อย่างไรก็ตาม สถาปนิกและวิศวกรของชุมชนเมืองสุโขทัยอาจใช้
ประสบการณ์จากที่ตั้งเมืองเดิมคือชุมชนวัดพระพายหลวง สร้างเมืองสุโขทัยให้สมบูรณ์
แหล่งน้ าและเส้นทางน้ าต่างๆ ท าขึ้นอย่างมีระบบ เพื่อเก็บน้ ามาไว้ภายในเมืองได้อย่างกล้าหาญ
และชาญฉลาด โดยมีการชลประทานเพื่อการอุปโภคบริโภค การชลประทานเพื่อการเกษตร
และการชลประทานแบบเหมืองฝายของเมืองสุโขทัย
กิจกรรมท้ายเรื่องที่ 2 การอยู่กับน้ าสมัยโบราณ
(ให้ผู้เรียนท ากิจกรรมท้ายเรื่องที่ 2 ในสมุดบันทึกกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดวิชา)