Page 78 - 1.ประวัติสาสตร์ชาติไทย ประถม สค.12024
P. 78
69
วิธีการควบคุมน้ าของเมืองสุโขทัย
จากที่กล่าวมาข้างต้นเป็นลักษณะชลประทานขนาดใหญ่ที่ต้องใช้คนเป็นจ านวน
มาก และต้องการการดูแลบ ารุงรักษาอยู่เสมอ (ชลประทานมาจากค าว่า ชล แปลว่า น้ า +
ประทาน แปลว่า ให้ หมายถึงการจัดสรรน้ าในรูปแบบต่างๆ เพื่อประโยชน์หลายอย่าง
แก่ประชาชน) ให้มีน้ าไว้ใช้อย่างเพียงพอและสม่ าเสมอตลอดปี เช่น การสร้างเหมืองฝาย
ส าหรับกักเก็บน้ าในฤดูฝนซึ่งเกินความต้องการ เป็นการบรรเทาปัญหาอุทกภัย และสามารถเก็บ
น้ าไว้ใช้ประโยชน์ในการเพาะปลูกเมื่อเข้าสู่ฤดูแล้ง เป็นต้น
การพัฒนาแหล่งน้ าในการชลประทานเพื่อการเกษตรกรรม มีวิธีการต่าง ๆ ดังนี้
ในการพัฒนาแหล่งน้ าเพื่อประโยชน์ในการเพาะปลูกหรือเรียกว่า การชลประทาน
มีหลากหลายวิธีที่ได้รับการพัฒนาในการกักเก็บน้ าไว้ใช้ ดังนี้
1. การทดน้ า คือ การสร้างเขื่อนหรือฝายกั้นให้ระดับน้ าเหนือเขื่อนสูงขึ้นจนถึง
ระดับพื้นที่เพาะปลูก
2. การส่งน้ า คือ การขุดคูคลอง หรือ การวางท่อส่งน้ า เพื่อกระจายปริมาณน้ า
ให้ทั่วถึงพื้นที่เพาะปลูกทางการเกษตร
3. การเก็บกักรักษาน้ า คือ การสร้างท านบ การสร้างประตูกักน้ า หรือแม้แต่
การพรวนดิน คลุมดินเพื่อรักษาความชื้นในดินให้มากที่สุด
4. การระบายน้ า คือ การขุดคูคลองเพื่อระบายน้ าออกจากพื้นที่เพาะปลูก
เพื่อการเก็บเกี่ยวและขนย้ายผลผลิตออกจากพื้นที่เพาะปลูกทางการเกษตร
5. การป้องกันอุทกภัย คือ การระบายน้ าด้วยการสร้างคันกั้นน้ าและอาจมีท่อ
ระบายน้ าประกอบ
ประโยชน์ของการชลประทาน
จากการพิจารณาถึงวิธีการต่างๆ ของการชลประทานแล้ว เห็นได้ว่า การชลประทาน
ก่อให้เกิดประโยชน์มีมากมายหลายประการ ได้แก่
1. บรรเทาการเกิดอุทกภัย
2. กักเก็บน้ าไว้ใช้ตลอดปีทั้ง เพื่อการเพาะปลูกทางการเกษตรและการอุปโภค
บริโภคของประชาชน
3. ท าให้เกิดการใช้น้ าอย่างประหยัด เกิดประโยชน์สูงสุด ให้มีปริมาณเพียงพอ
อย่างสม่ าเสมอในฤดูเพาะปลูก และระบายน้ าทิ้งได้ทันการเมื่อถึงฤดูเก็บเกี่ยว