Page 74 - 1.ประวัติสาสตร์ชาติไทย ประถม สค.12024
P. 74

65





                                สมัยโบราณการเลือกพื้นที่ตั้งเมืองอยู่  ณ บริเวณใดนั้น จะต้องพิจารณาจุดแข็ง

                  ทางภูมิศาสตร์ของพื้นที่เป็นหลัก ประกอบด้วย สภาพความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ การเป็น
                  ชัยภูมิที่ดีในทางทหาร และที่ส าคัญ บ้านเมืองต้องมีความปลอดภัยจากน้ าท่วมในฤดูน้ าหลาก


                  และไม่ขาดแคลนน้ าใช้อุปโภคบริโภคในฤดูแล้ง การเลือกหาพื้นที่ตั้งเมืองให้ตรงตามลักษณะ
                  ดังกล่าว จะต้องอาศัยภูมิความรู้ทางภูมิศาสตร์และความเข้าใจที่ละเอียดทางด้านระบบสังคม

                  สมัยโบราณ จะเชื่อมโยงเป็นระบบด้วยการจัดความสัมพันธ์ระหว่าง คน กับ ธรรมชาติและ

                  อ านาจเหนือธรรมชาติ  เพราะการสร้างบ้านแปงเมืองถือเป็นสัญลักษณ์แห่งความมั่นคง

                  ของมนุษย์ ทั้งด้านอ านาจการเมือง การปกครอง การค้าขายแลกเปลี่ยน และการท ามาหากิน

                  หากจะย้ายไปสร้างเมืองใหม่ที่ใดอีกก็เป็นไปด้วยเหตุภัยสงคราม หรือภัยธรรมชาติครั้งรุนแรงจน

                  เมืองพังทลายเสียหายมากเท่านั้น

                                ส่วนการตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนอยู่เมืองสุโขทัยโบราณนั้น มักจะพบอยู่บริเวณล าน้ า

                  เล็ก ๆ และมีพื้นที่รับน้ าที่เป็น หนอง บึง และเลี้ยงชีพด้วยการเกษตรเป็นหลัก ดังนั้นจึงมี

                  2 ปัจจัย ในการเลือกตั้งถิ่นฐาน คือ

                                1.  แหล่งน้ า คือ ปัจจัยส าคัญที่สุดส าหรับการท าเกษตร โดยอาณาบริเวณสมัย

                  สุโขทัยมีล าน้ าขนาดใหญ่ผ่านถึง 3 สาย คือ ล าน้ าปิง ล าน้ ายม ล าน้ าน่าน โดยล าน้ าทั้ง 3 สาย

                  นี้ไหลลงไปรวมกันที่เมืองนครสวรรค์ ช่วยให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ต่อการเกษตร แต่ในฤดูแล้ง

                  จะมีปัญหาเพราะน้ าน้อย ส่วนในหน้าน้ าหลากจะไหลล้นตลิ่งในปริมาณสูง ท าให้สองฟากของ

                  แม่น้ าที่เหมาะแก่การเกษตรกรรมไม่สามารถเพาะปลูกได้

                                2.  สภาพพื้นที่ดิน คือ ปัจจัยส าคัญรองลงมาจากสภาพพื้นที่น้ า การตั้งถิ่นฐาน

                  ของชุมชนโบราณบนพื้นที่รับน้ า เช่น ล าน้ าเล็ก ๆ หรือ หนอง บึง ธรรมชาติตามฤดูกาล

                  ก่อให้เกิดพื้นที่ 3  ลักษณะ คือ  พื้นที่ที่อยู่ระหว่างเขาลงมาตามที่ราบลุ่มแม่น้ า พื้นที่บริเวณ
                  ลุ่มน้ าใกล้เคียงกัน และพื้นที่ราบลุ่มน้ า เป็นพื้นที่ที่เหมาะกับการท าการเกษตรมากที่สุด พื้นที่นี้


                  ครอบคลุมบริเวณเมืองพิษณุโลก
                                สมัยสุโขทัยบ้านเมืองมีความร่มเย็น อุดมสมบูรณ์ด้วยมีพื้นที่ในการท า

                  การเกษตรและมีผลผลิตเพียงพอในการเลี้ยงประชาชนที่มีจ านวนไม่มากนัก มีระบบชลประทาน

                  แบบเหมือง ฝาย คันดิน ท านบ เขื่อน น าน้ าเข้าพื้นที่การเกษตร เพื่อใช้อุปโภคบริโภค ส าหรับ

                  ชาวบ้านชาวเมือง คือ

                                1.  สรีดภงส์ 1  (ท านบพระร่วง1)  (สรีดภงส์ อ่านว่า สะ-หรีด-พง เป็นค านาม

                  แปลว่า เขื่อน หรือ อ่างเก็บน้ า  ท านบ) สรีดภงส์ตั้งอยู่ห่างตัวเมืองไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้
   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79