Page 64 - เล่มโปรเจค
P. 64
51
ไดอะแฟรม โดยแรงจะถูกส่งผ่านลูกสูบเป็นผลให้ของเหลวภายในช่องแผ่นไดอะแฟรมถูกกดอัด ซึ่ง
การวัดแรงที่เกิดขึ้นสามารถวัดได้จากความดันของของเหลวความสัมพันธ์ระหว่างแรงกระทำกับ
แรงดันของของเหลวนี้ มีลักษณะเป็นแบบเชิงเส้นและไม่ขึ้นกับอุณหภูมิและปริมาณของของเหลวใน
กระบอกสูบโดยปกติโหลดเซลล์แบบนี้จะความแม่นยำ (Accuracy) ในการวัดอยู่ที่ประมาณ 0.3 % ที่
Full Scale ซึ่ง ระดับความแม่นยำนี้ก็เป็นที่ยอมรับได้ในงานอุตสาหกรรมทั่วไปข้อดีของโหลดเซลล์
แบบนี้คือ สามารถที่จะใช้ในพื้นที่ที่อันตราย (Hazardous Area) เช่น พวกโรงงานที่มีวัตถุไวไฟต่างๆ
เนื่องจาก Load cell แบบนี้ไม่ต้องใช้ไฟฟ้าในการวัดสำหรับข้อเสียของโหลดเซลล์แบบไดอะเฟรมนี้
คือสามารถรับแรงสูงสุดได้ไม่เกิน 1000 psig เท่านั้นครับซึ่งจะไม่เหมาะกับการใช้ในงานที่ต้องการวัด
แรงดันสูง
รูปที่ 2.53 โหลดเซลล์แบบไฮดรอดิก (Hydraulic Load Cell) [7]
2.12.3.3 โหลดเซลล์แบบนิวแมติก (Pneumatic Load cell)
ทำงานโดยใช้หลักการสมดุลแรงเช่นเดียวกับแบบไฮดรอลิก แต่ต่างกันที่ โหลด
เซลล์แบบนี้จะมีความแม่นยำกว่าแบบไฮดรอลิก เพราะว่า มีการใช้ช่องว่างหลายช่อง ในการหน่วง
ความดันของของเหลวเพื่อลดแรงสั่นสะเทือน โหลดเซลล์แบบนี้ มักจะใช้วัดสิ่งของที่มีน้ำหนักไม่มาก
นักในงาน อุตสาหกรรมที่ต้องการความสะอาดและความปลอดภัยสูงสำหรับจุดเด่นของโหลดเซลล์
แบบนี้ คือ สามารถทนแรงกระแทกได้สูงและไม่ไวต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมินอกจากนี้ ใน
ระบบนิวเมติก จะไม่ใช้ของเหลวในเครื่องมือวัด เหมือนกับระบบไฮดรอลิก ทำให้ไม่มีของเหลวมา
ปนเปื้อนโดนสิ่งที่ต้องการจะวัดในกรณีที่ไดอะเฟรมมีการแตกร้าวสำหรับข้อเสีย ของ Load cell แบบ
นี้มีคือความเร็วในการตอบสนองต่ำและต้องใช้งานในสภาวะแวดล้อมที่สะอาดปลอดความชื้น อีกทั้ง
ยังจะต้องมีการควบคุมอากาศหรือไนโตรเจนภายในเครื่องให้เหมาะสม