Page 115 - Health Impact Assessment of policies related to local pharmaceutical industry development towards technology readiness and access to medicines: HIAPP
P. 115
การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพนโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตยาในประเทศด้านความพร้อมของอุตสาหกรรมและการเข้าถึงยา 101
จากภาพที่ 39 Ia คือ บริษัทน าเข้ายาต้นแบบเป็นส่วนใหญ่และ Lb, Lc, และ Ld คือ ผู้ผลิตยาใน
ประเทศ Ia จากกลุ่มแพนด้า เป็นบริษัทน าเข้าที่มียอดขายในกลุ่มเพิ่มสูงสุดอย่างต่อเนื่อง Lb จากกลุ่มสิงโต มี
การจ าหน่ายยาสามัญใหม่ที่มียอดขายสูงและยอดขายเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ขณะที่ Lc จากกลุ่มแร็คคูน บริษัทที่
น าเข้ายาสามัญใหม่เป็นหลัก มียอดขายเพิ่มสูงขึ้นในช่วงแรกและลดลงในช่วงหลังอีกทั้งข้ามกลุ่มมายังกลุ่ม
สิงโต Ld จากกลุ่มโคล่ามียอดขายที่เพิ่มสูงขึ้นจากยาสามัญเป็นหลักแล้วช่วงหลังข้ามกลุ่มไปยังกลุ่มแร็คคูน
ระยะที่ 2 จัดท าทางเลือกเชิงนโยบายและฉากทัศน์นโยบาย ที่น าไปสู่นวัตกรรมทางเทคโนโลยี
ด้านยาและการผลิต
่
1. ผลการวิเคราะห์ความไมสอดคล้องทางนโยบายสนับสนุนอุตสาหกรรมยาในประเทศไทย
กรอบแนวคิดการวิเคราะห์ความไม่สอดคล้องของนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาอุตสาหกรรมการ
ผลิตยาภายในประเทศ (ภาพที่ 44) พิจารณาจากนโยบายต่างๆ ที่มีการดำเนินการในขั้นตอนต่างๆ ของ drug
supply chain ตั้งแต่การค้นหา วิจัยและพัฒนายา (drug discovery & product development) การขึ้น
ทะเบียนยา (market authorization) การคัดเลือกยาเข้าไปเป็นสิทธิประโยชน์ด้านยา (selection) การจัดซื้อ
จัดหายา (procurement) และการใช้ยา (use) ความไม่สอดคล้องที่เกิดขึ้นเป็นความไม่สอดคล้องกันของ
วัตถุประสงค์ของนโยบายในแต่ละขั้นของ supply chain กับการพัฒนาอุตสาหกรรมยาที่ได้รับผลกระทบจาก
นโยบายที่เกิดขึ้น และดำเนินการอยู่ตลอดทั้งสายของ supply chain
1 ) ในขั้นตอนของการค้นหา วิจัย และพัฒนาผลิตภัณฑ์ยา (drug discovery & product
์
development) นโยบายในขั้นตอนนี้มีทิศทางส่งเสริมให้เกิดการวิจัย และพัฒนาผลิตภัณฑยาที่มีเทคโนลยีสูง
แต่สำหรับอุตสาหกรรมยาการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีเทคโนโลยีสูงต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมาก และมี
ความไม่แน่นอนทางการตลาดสูง ซึ่งเมื่อพิจารณาจากมูลค่าตลาดของอุตสาหกรรมผลิตยาในประเทศ ที่อยู่ใน
ตลาดที่มีการแข่งขันด้านราคาเป็นหลัก ความสามารถในการลงทุนจึงน้อย และไม่มีบรรยากาศให้
ผู้ประกอบการกล้าลงทุนในสภาพตลาดที่มีความไม่แน่นอนสูงจากนโยบายใน supply chain ขั้นตอนอนๆ ทำ
ื่
ื่
ให้การส่งเสริมเพอเพิ่มศักยภาพการวิจัย และพัฒนา ให้มีผลิตภัณฑ์ที่ระดับเทคโนโลยีที่สูงขึ้น ไม่ได้ผล
2) การขึ้นทะเบียนยา (market authorization) นโยบายในขั้นตอนนี้ของ supply chain มุ่งไปที่การ
คุ้มครองผู้บริโภค การปรับปรุงมาตรฐานในการควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุด ทันสมัยอยู่เสมอจึงเป็น
มาตรการที่ดำเนินการ หากแต่การเพิ่มสูงขึ้นของมาตรฐานแม้ว่าจะมีข้อดีที่เป็นการยกระดับคุณภาพของ
ผลิตภัณฑ์ยาสามัญของประเทศไทยซึ่งเป็นจุดแข็งในการแข่งขันในระดับนานาชาติ แต่ในขณะเดียวกัน การ
เพิ่มขึ้นของมาตรฐานการควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์เป็นส่วนของต้นทุนสูงขึ้น ส่งผลกระทบทางลบต่อ