Page 116 - Health Impact Assessment of policies related to local pharmaceutical industry development towards technology readiness and access to medicines: HIAPP
P. 116

Health Impact Assessment of policies related to local pharmaceutical industry
          102      development towards technology readiness and access to medicines: HIAPP


               ความสามารถในการแข่งขันของผลิตภัณฑ์ยาสามัญในประเทศที่ต้องแข่งขันด้วยราคาเป็นหลักกับผลิตภัณฑ์ยา

               สามัญต่างชาติ ทั้งในตลาดยาสามัญภายนอก และภายในประเทศ


                       3) การคัดเลือกยาเข้าไปเป็นสิทธิประโยชน์ด้านยา (selection) การคัดเลือกยาเข้าสู่บัญชียาหลัก
               แห่งชาติ ซึ่งเป็นสิทธิประโยชน์ด้านยาของระบบประกันสุขภาพของประเทศในปัจจุบัน คัดเลือกยาจากเกณฑ์

               ต้นทุนประสิทธิผลที่มีความคุ้มค่า ผลิตภัณฑ์ IMD หรือ incremental modifying drug ที่เกิดจากส่งเสริม

               ศักยภาพของการวิจัย และพัฒนาของผู้ผลิตยาภายในประเทศ ซึ่งมีประโยชน์ที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับ

                                                                                    ื้
               ต้นทุนจึงไม่สามารถเข้าสู่ตลาดของการบริการสุขภาพภาครัฐได้ ด้วยนโยบายที่ไม่เออต่อการเข้าถึงตลาดเช่นนี้
               ผู้ผลิตยาในประเทศจึงไม่เพิ่มการลงทุนในการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ยาในกลุ่มนี้ ในขณะที่การวิจัย
               และพัฒนยาใหม่ก็ยังเป็นไปไม่ได้ในระยะเวลาอันใกล้ ทั้งในแง่ของเงินลงทุน และระดับของเทคโนโลยี


                       4) การจัดซื้อจัดหายา (procurement) ด้วยระบบสุขภาพของประเทศไทยเป็นระบบหลักประกัน

               สุขภาพ การเข้าถึงยาส่วนใหญ่จึงผ่านไปทางโรงพยาบาลภาครัฐ ตลาดยาหลักของประเทศจึงเป็นตลาดการ

               จัดซื้อจัดจ้างโดยโรงพยาบาลภาครัฐที่มีเป้าหมายการจัดซื้อที่การลดต้นทุนบริการสุขภาพเป็นสำคัญ ด้วยกลไก

               การจ่ายค่าบริการที่เป็นแบบเหมาจ่ายรายหัว การแข่งขันในตลาดยาจึงใช้ราคาเป็นหลัก ยาสามัญที่ผลิตใน

               ประเทศจึงมีความสามารถในการแข่งขันสู้ผลิตภัณฑ์ยาสามัญนำเข้าจากจีน หรืออินเดียที่มีต้นทุนต่ำ จากขนาด
               ของการผลิตที่ใหญ่กว่ามากไม่ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ขนาดของตลาดยาสามัญที่ผลิตในประเทศจึงเล็กลง ไม่มีเงินทุน

               มากพอที่จะรองรับความเสี่ยงที่เกิดจากการลงทุนในการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ยาที่มีระดับเทคโนโลยีสูงขึ้น

               นโยบายการสนับสนุนการวิจัย และพัฒนาที่ต้นสาย supply chain จึงไม่ประสบผลสำเร็จ แม้ว่าจะมีความ

               พยายามที่จะลดความไม่สอดคล้องของนโยบายในส่วนนี้ เช่น บัญชียานวัตกรรม แต่ก็ประสบปัญหาจากการ

               ดำเนินนโยบายทำให้ยังไม่สามารถส่งเสริมอุตสาหกรรมยาได้อย่างที่ควรจะเป็น


                       5) การใช้ยา (use) แนวนโยบายที่ดำเนินการในขั้นตอนนี้มุ่งหมายทำให้เกิดการใช้ยาที่สมเหตุสมผล
               และปลอดภัยของประชาชน ในช่วงหลังมีการปรับให้ยาหลายรายการไม่สามารถขายได้ในร้านขายยา ซึ่งเป็น

               อีกตลาดหนึ่งของผู้ผลิตยาภายในประเทศที่สามารถตั้งราคาสูงกว่าในตลาดโรงพยาบาลรัฐ ช่วยเฉลี่ยต้นทุนของ

               ผลิตภัณฑ์ยาในตลาดโรงพยาบาลรัฐที่ต้องขายในราคาต่ำมาก แต่เมื่อมีนโยบายปรับปรุงให้ยาหลายรายการไม่

               สามารถขายได้ผ่านช่องทางร้านยาด้วยเพราะต้องการป้องกันไม่ให้เกิดการใช้ยาอย่างไม่สมเหตุสมผล จึงทำให้

               ผู้ผลิตยาภายในประเทศสูญเสียช่องทางการกระจายยาที่ก่อให้เกิดรายได้ที่มีส่วนช่วยชดเชยรายได้ที่เสียไปจาก

               การขายผลิตภัณฑ์ยาที่ราคาต่ำในตลาดโรงพยาบาลภาครัฐ
   111   112   113   114   115   116   117   118   119   120   121