Page 120 - Health Impact Assessment of policies related to local pharmaceutical industry development towards technology readiness and access to medicines: HIAPP
P. 120

Health Impact Assessment of policies related to local pharmaceutical industry
          106      development towards technology readiness and access to medicines: HIAPP


                       ภาษีได้ถึง 16 กันยายน พ.ศ. 2571 โดยไม่ขึ้นกับจ านวนเงินลงทุน) มีบริษัทที่ยื่นขอกิจการ

                       เทคโนโลยีชีวภาพ เช่น บริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ จ ากัด


                              อย่างไรก็ตาม นโยบายการสนับสนุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนยังไม่
                       สามารถสนับสนุนภาพรวมของอุตสาหกรรมผลิตยาได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เนื่องจากข้อกำหนดของ

                       การสนับสนุนไม่เออต่อบริบทของอุตสาหกรรมผลิตยาในประเทศที่เป็นโรงงานที่มีการลงทุนในอดีตมา
                                      ื้
                       เป็นเวลานาน ไม่ใช่การลงทุนใหม่อย่างที่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนมุ่งเน้น รวมถึงเงื่อนไขของ

                       การสนับสนุนที่อาจเป็นการเพิ่มต้นทุนให้แก่ผู้ผลิตที่มากจนเกินไป เช่น การแยกสายการผลิตจากกัน

                       อย่างชัดเจน หรือการซื้อเครื่องจักรใหม่ทั้งหมดในสายการผลิตที่แยกออกมาอย่างน้อย 7 เครื่อง แต่ใน

                       บริบทของอุตสาหกรรมผลิตยาการใช้เครื่องจักรใหม่แค่บางส่วนของสายการผลิตก็สามารถทำให้เกิด
                       ผลิตภัณฑใหม่ได้เช่นกัน จึงเป็นผลให้ผู้ประกอบการในประเทศไม่สามารถขอรับการสนับสนุนได้อย่าง
                               ์
                       ทั่วถึง

                                                                                                        ิ่
                              นอกจากนี้การสนับสนุนดังกล่าวไม่ได้ครอบคลุมไปถึงการลงทุนใน software เพื่อเพม
                       คุณภาพการผลิต เครื่องมือสำหรับการผลิตขนาดเล็กในขั้นตอนของการทำ R&D ยาประเภทอื่น ๆ ที่มี

                       ความสำคัญต่อความมั่นคงทางยา เช่น New Chemical Entities (NCE), New Drug Product (NDP)

                       และยากำพร้า รวมถึงการสนับสนุนเพื่อพัฒนาความสามารถของบุคลากรในอุตสาหกรรมผลิตยาที่มี
                       ความจำเป็นต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตยาในประเทศ


                   •  ประเด็นการพัฒนาการผลิต
                              ในการเพิ่มศักยภาพด้านเทคโนโลยี และความสามารถในการขยายตลาดของอุตสาหกรรม

                                                                ื่
                       ผลิตยาในประเทศไทย การสนับสนุนจากภาครัฐเพอให้เกิดการพัฒนาด้านการผลิตจึงเป็นสิ่งสำคัญต่อ
                       ภาพรวมของอตสาหกรรมยาในประเทศไทย หน่วยงานหลักที่ทำหน้าที่ในการพัฒนากระบวนการผลิต
                                  ุ
                       ให้ได้ตามมาตรฐาน คือ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

                              อย่างไรก็ตามอาจพบความไม่สอดคล้องของบทบาทที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
                       เป็นผู้รับผิดชอบ ส่งผลให้การพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตยาไม่บรรลุเป้าหมาย เนื่องจากหนึ่งในบทบาท

                       หน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาคือการส่งเสริมกระบวนการผลิตให้ได้มาตรฐาน ซึ่งมี

                       เป้าหมายคือจำนวนโรงงานยาที่ต้องได้มาตรฐานดังกล่าวในแต่ละปี ในขณะที่บทบาทอกด้านหนึ่งคือ
                                                                                              ี
                       การตรวจประเมินมาตรฐานการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมว่าเป็นไปตามมาตรฐานหรือไม่ จะเห็นว่า

                       เป็นบทบาทที่มีเป้าหมายสวนทางกันระหว่างการเป็นผู้ส่งเสริมการพัฒนา และ ผู้ควบคุมกำกับ

                       มาตรฐาน

                              เนื่องจากเกณฑ์มาตรฐานเป็นเกณฑ์คุณภาพที่มีการพัฒนาหรือปรับปรุงใหม่อย่างต่อเนื่อง
                       หรืออาจต้องมีการปรับเปลี่ยนเครื่องจักรและกระบวนการผลิตที่ซับซ้อนมากขึ้นตามมาตรฐานที่
   115   116   117   118   119   120   121   122   123   124   125