Page 122 - Health Impact Assessment of policies related to local pharmaceutical industry development towards technology readiness and access to medicines: HIAPP
P. 122
Health Impact Assessment of policies related to local pharmaceutical industry
108 development towards technology readiness and access to medicines: HIAPP
อย่างไรก็ตามประเทศไทยยังคงขาดนโยบายในการส่งเสริมให้เกิดการนำเข้าเทคโนโลยีจาก
ต่างประเทศ ทั้งในด้านการขึ้นทะเบียน การกำหนดมาตรการควบคุมคณภาพการผลิตและนำเข้ายาสามัญจาก
ุ
ต่างประเทศ หรือการขาดหน่วยงานที่มีบทบาทต่อการเชื่อมโยงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับห่วงโซ่อุปทานของการ
ผลิตยาตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ เพื่อขับเคลื่อนอุตสาหกรรมการผลิตยาในประเทศ
ความไม่สอดคล้องทางนโยบายสนับสนุนอุตสาหกรรมยาชีววัตถุในประเทศไทย
จากนโยบายรัฐบาล คือ ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี: อุตสาหกรรมชีวภาพ จะเห็นความชัดเจนในการ
สนับสนุนอุตสาหกรรมยาชีววัตถุมากกว่าอุตสาหกรรมผลิตยาตามที่กล่าวข้างต้น จากการที่รัฐบาลได้สนับสนุน
ในประเด็นหลัก ได้แก่ การพัฒนาอุตสาหกรรม สนับสนุนทุนวิจัย พัฒนา และสนับสนุนผู้ประกอบการ ดังภาพ
ที่ 42
การส่งเสริมการพัฒนายาทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพและอุตสาหกรรมการผลิตยาชีววัตถุได้ดำเนินการ
ั
ควบคู่มากับการพฒนาแนวทางการกำกับดูแลผลิตภัณฑ์ ในช่วงที่ผ่านมาจำนวนของบริษัทเอกชนทางด้าน
เทคโนโลยีชีวภาพในประเทศไทย มีจำนวนเพิ่มขึ้น ด้วยกรอบการดำเนินงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ทำให้อุตสาหกรรมชีววิทยาศาสตร์ในประเทศมีความสำคัญมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณานโยบายการสนับสนุนอุตสาหกรรมยาชีววัตถุจะมาจากสถาบันวัคซีน
แห่งชาติเป็นหลัก ในขณะที่แนวทางการกำกับดูแลยาชีววัตถุยังเป็นอุปสรรคของการลงทุนในอุตสาหกรรมนี้
เช่น ผู้พัฒนายาชีววัตถุคล้ายคลึงยังคงไม่แน่ใจเกี่ยวกับข้อกำหนดสุดท้ายของการกำกับดูแลยาโมโนโคลนอล
แอนติบอดีในรูปแแบบยาคล้ายคลึง แม้ว่าจะมีการตีพิมพ์แนวทางการกำกับดูแลออกมาแล้ว การประเมินผล
ยังคงพิจารณาเป็นกรณีไป หรือการสนับสนุนด้านการตลาดของยาชีววัตถุยังคงไม่มีหน่วยงานที่มีบทบาทในการ
ผลักดันเพื่อให้เกิดการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายขึ้น ซึ่งรายละเอียดดังกล่าวจะอยู่ในรายงานฉบับนี้ เรื่องการ
ประเมินความเป็นไปได้ทางการเงินของรูปแบบการลงทุนในอุตสาหกรรมการผลิตโมโนโคลนอลแอนติบอดี