Page 121 - Health Impact Assessment of policies related to local pharmaceutical industry development towards technology readiness and access to medicines: HIAPP
P. 121
การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพนโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตยาในประเทศด้านความพร้อมของอุตสาหกรรมและการเข้าถึงยา 107
ยกระดับขึ้น ทำให้ต้นทุนการผลิตมีค่าสูงขึ้น ส่งผลให้ความสามารถในการแข่งขันราคาของผู้ผลิตยาใน
ตลาดลดลง แต่กระบวนการจัดซื้อของสถานพยาบาลยังคงอยู่บนเงื่อนไขทางด้านราคาที่ถูกกว่าเป็น
หลัก ดังนั้น เพื่อความอยู่รอดของผู้ประกอบการ จึงเกิดภาวะตัดราคา จนไม่สามารถนำกำไรมาลงทุน
สนับสนุนการวิจัย พัฒนา ได้อย่างเต็มที่
• ประเด็นการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมยา
กฎ ระเบียบ ที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตยาในประเทศไทย ได้แก่ พรบ.
การจัดซื้อจัดจ้าง และ นโยบายสนับสนุนการจัดซื้อยาในบัญชีนวัตกรรม โดยมีรายละเอียดดังนี้
พรบ.การจัดซื้อจัดจ้าง ได้กำหนดกฎระเบียบการจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์ของสถานพยาบาลใน
ประเด็นต่าง ๆ ได้แก่ การกำหนดราคากลาง วิธีการจัดซื้อยา เกณฑ์การคัดเลือกข้อเสนอ และการ
สนับสนุนผู้ผลิตหรือผู้จำหน่ายยาของไทย ซึ่งอาจเกิดความไม่สอดคล้องต่อนโยบายการสนับสนุน
อุตสาหกรรมยาในประเทศได้ เนื่องจาก พรบ.การจัดซื้อจัดจ้าง ได้มอบสิทธิพิเศษทางการตลาดให้กับ
องค์การเภสัชกรรม สถานพยาบาลจึงจำเป็นต้องจัดซื้อรายการยาที่ผลิตโดยองค์การเภสัชกรรม เป็น
อันดับแรก ส่งผลให้ผู้จำหน่ายรายการยาชนิดเดียวกับองค์การเภสัชกรรมไม่สามารถแข่งขันได้ ดังนั้น
ผู้ประกอบการจึงไม่มีแรงจูงใจต่อการลงทุนในการวิจัย พัฒนา เนื่องจากไม่สามารถคาดเดาได้ว่า
องค์การเภสัชกรรมจะผลิตยารายการใดเข้าตลาด
นโยบายสนับสนุนการจัดซื้อยาในบัญชีนวัตกรรม กำหนดให้สถานพยาบาลทำการจัดซื้อยา
นวัตกรรมไม่น้อยกว่า 30% จากค่าจัดซื้อทั้งหมด เพื่อเป็นการอุดหนุนอุตสาหกรรมยานวัตกรรมใน
ประเทศ อย่างไรก็ตามผลการดำเนินงานภายใต้นโยบายยาบัญชีนวัตกรรม ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย
เนื่องจากผู้ซื้อผลิตภัณฑ์หรือสถานพยาบาลถูกจำกัดด้วยวิธีการควบคุมค่าใช้จ่าย อันเนื่องมาจาก
ระบบการเบิกจ่าย ประกอบกับเงื่อนไขการพิจารณายาที่จะอยู่ในบัญชีนวัตกรรม ระบุเพียงยาที่ทำ
ชีวสมมูล จึงทำให้ในทางปฏิบัติรายการยาในบัญชีนวัตกรรม ผู้ประกอบการจะได้รับประโยชน์ที่
แตกต่างจากรายการยาที่ไม่ได้อยู่ในบัญชีนวัตกรรมน้อยมาก ส่งผลให้สถานพยาบาลสามารถต่อรอง
ราคาเพื่อให้ได้ยาราคาถูก เช่นเดิม
การนำเข้า และถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต
การนำเข้าเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตจากต่างประเทศ เป็นการพัฒนาขีดความสามารถด้าน
เทคโนโลยีการผลิตทั้งในรูปแบบของกระบวนการผลิต และความสามารถของบุคลากร ส่งผลให้อุตสาหกรรม
การผลิตยาในประเทศมีความสามารถในการผลิตยาที่ซับซ้อนหรือการทำวิจัย พัฒนาในยากลุ่มใหม่ที่ให้
ผลตอบแทนดีกว่าการผลิตยาสามัญ จะจูงใจผู้ประกอบการให้เกิดการลงทุนในอุตสาหกรรมยา ผลที่เกิดขึ้นจะ
เป็นการพัฒนาขีดความสามารถและขยายขนาดตลาดการผลิตยาเพื่อส่งออก