Page 27 - Health Impact Assessment of policies related to local pharmaceutical industry development towards technology readiness and access to medicines: HIAPP
P. 27
การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพนโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตยาในประเทศด้านความพร้อมของอุตสาหกรรมและการเข้าถึงยา 13
อย่างไรก็ตาม นโยบายและมาตรการเหล่านี้ ยังไม่เพียงพอที่จะกระตุ้นอุตสาหกรรมการผลิตยาในประเทศ
ไทยในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมาได้ (ภาพที่ 3)
16
ภาพที่ 3 มูลค่าการผลิตและน าเข้ายาจากต่างประเทศ ปี พ.ศ. 2532-2558 (Real value)
การส่งออกยาของประเทศไทยในภาพรวมมีแนวโน้มที่เพมขึ้นมาตั้งแต่ปี 2557 การส่งออกยาในปี 2558 มี
ิ่
มูลค่าประมาณ 300.13 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวจากปีก่อนร้อยละ 5.78 ในไตรมาสที่ 1 ปี 2559 มีมูลค่า
83.20 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 0.03 และ 15.39
ตามล าดับ ตลาดการส่งออกที่ส าคัญได้แก่กลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน (ยกเว้นบรูไน) โดยเฉพาะประเทศเวียดนามมี
การขยายตัวที่ดี และรวมถึงประเทศกัมพูชา เมียนมาร์ ฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย ตามล าดับ ในไตรมาสแรกปี 2559
มูลค่าการส่งออกคิดเป็นร้อยละ 65.0 ของมูลค่าการส่งออกยารักษาหรือป้องกันโรคทั้งหมด การขยายตัวในการ
ส่งออกเป็นผลมาจากการที่ยาของไทยได้รับการยอมรับจากประเทศในภูมิภาคอาเซียนมากขึ้น โดยประเทศไทยได้รับ
การรับรองให้เป็นสมาชิก ASEAN Listed Inspection Service ล าดับที่ 4 ต่อจากประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย และ
16 นุศราพร เกษสมบูรณ์ และทวีศักดิ์ มโนมยิทธิกาญจน์. วิเคราะห์จากมูลค่าการผลิตและน าเข้ายาแผนปัจจุบันส าหรับมนุษย์
รวบรวมโดยส านักงานคณะกรรมการอาหารและยา. สืบค้นจาก
http://www.fda.moph.go.th/sites/drug/SitePages/Statistic.aspx