Page 65 - Health Impact Assessment of policies related to local pharmaceutical industry development towards technology readiness and access to medicines: HIAPP
P. 65

การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพนโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตยาในประเทศด้านความพร้อมของอุตสาหกรรมและการเข้าถึงยา   51


                       รายงานการพิจารณาศึกษาผลกรทบจากการเข้าร่วมความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าส าหรับ

                                                        32
               หุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP)  ผลการพิจารณาเรื่อง ยา

                       เพื่อให้เห็นภาพรวมผลกระทบของความตกลง CPTPP แต่ละข้อตกลงต่อห่วยโซ่คุณค่าของยา จึงขอ
               เสนอประเด็นโดยสรุปดังภาพที่ 9 ซึ่งยาเป็นจุดเริ่มต้นจากแหล่งความรู้ของยา (ในทีนี้รวมถึง วัคซีน และชีว

               วัตถุ) คือ ภูมิปัญญาท้องถิ่นและการแพทย์แผนไทย และสมุนไพรไปสู้การค้นคว้าวิจัยและพัฒนา การศึกษา

               ทดลองทางห้องปฏิบัติการ การวิจัยทางคลินิกในมนุษย์ จนกระทั้งได้ยาใหม่ (ในขณะเดียวกันจะมีขั้นตอนการ

               วิจัยและพัฒนาเพื่อให้ได้ยาขื่อสามัญ) ที่มีการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา (สิทธิบัตร) โดยให้สิทธิแต่เพียงผู้

               เดียวแก่เจ้าของสิทธิบัตรที่มีผลต่อการผูกขาดและที่มีผลต่อการเข้าสู่ตลาดของยาชื่อสามาญ ขั้นตอนต่อมา ยา

               จะต้องขึ้นทะเบียนยากับส านักงานคณะกรรมการอาหารและยา อย. ซึ่งเป็นกระบวนการควบคุมยาก่อน

               ออกจ าหน่ายที่พิจารณาด้านความปลอดภัย (safety) ประสิทธิผล (efficacy) และการรับรองคุณภาพ
               (quality) ของผลิตภัณฑ์ ก่อนได้รับการอนุมัติให้สามารถออกจ าหน่ายได้ ในขณะเดียวกัน อย. จะต้องมี

                                                                                                        ื่
               กระบวนการคุ้มครองผู้บริโภคด้วย เมื่อได้รับอนุญาตแล้ว จึงเข้าสู่กระบวนการน าเข้าเพื่อจ าหน่าย น าเข้าเพอ
               ส่งออก ผลิตเพื่อจ าหน่าย หรือผลิตเพื่อการส่งออก และในขั้นตอนสุดท้ายจะเข้าสู่การบริหารจัดการเพื่อไปสู้

               ประชาชนหรือผู้ป่วยที่ต้องใช้ยา เป็นวัฏจักรของการบริหารเวชภัณฑ์ของหลักประกันสุขภาพ และ

               สถานพยาบาลต่าง ๆ ซึ่งวัฏจักรนี้ประกอบด้วยการคัดเลือก การจัดหา การกระจาย และการใช้ยา


                       ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลักในห่วงโซ่คุณค่าของยา เช่น

                       1) กลุ่มนักวิจัยไทย เช่น นักวิจัยด้านผลิตภัณฑ์ นักวิจัยด้านการศึกษาทดลองทางคลินิกชาวไทย


                       2) ภาคเอกชน เช่น อุตสาหกรรมผู้ผลิต – ส่งออกสมุนไพร อุตสาหกรรมการผลิตยาชื่อสามัญ องค์การ

               เภสัชกรรม สภากาชาดไทย และโรงงานเภสัชกรรมทหาร ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ ผู้ให้บริการ (รับจ้าง) ใน

               สถานพยาบาล และบริษัทยาข้ามชาติ


                       3) หน่วยงานภาครัฐ เช่น ส านักงานคณะกรรมการอาหารและยา อย. กรมบัญชีกลาง (จักซื้อจัดจ้าง

               ภาครัฐ) สวทช. และส านักงบประมาณ สถานพยาบาล กรมบัญชีกลาง (สวัสดิการค่ารักษาพยาบาล) ส านักงาน
               หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ส านักงานประกันสังคม


                       4) ผู้ให้บริการ เช่น บุคลากราธารณสุข และสภาวิชาชีพ


                       5) ประชาชน (ผู้ป่วยที่ต้องใช้ยา)





               32  คัดลอกจากรายงานการพิจารณาศึกษาผลกรทบจากการเข้าร่วมความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทาง
               เศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP) สภาผู้แทนราษฎร วันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2563
   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70