Page 67 - Health Impact Assessment of policies related to local pharmaceutical industry development towards technology readiness and access to medicines: HIAPP
P. 67
การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพนโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตยาในประเทศด้านความพร้อมของอุตสาหกรรมและการเข้าถึงยา 53
1. ประเด็นด้านการรับฝากจุลชีพ
ปัจจุบันสิ่งที่สามารจดสิทธิบัตรในประเทศไทยได้ตามที่ระบุในพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522
และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึง พ.ศ. 2542 นั้น ยังไม่รวมจุลชีพที่มีอยู่ตามธรรมชาติ และประเทศไทยยังไม่ได้เข้าร่วม
สนธิสัญญาบูดาเปสต์ (Budapest treaty)
ความตกลง CPTPP ก าหนดให้ประเทศภาคีสมาชิกจ าต้องเข้าร่วมความตกลงระหว่างประเทศทั้งหมด
5 ฉบับ โดยหนึ่งในนั้นคือ มาตรา 18.7.2 (b) สนธิสัญญาบูดาเปสต์ (Budapest treaty) ซึ่งเป็นสนธิสัญญา
ื่
ที่ว่าด้วยเรื่องการรับฝากจุลชีพเพอประกอบกระบวนการจดสิทธิบัตรในประเทศต่าง ๆ ซึ่งอ านวยความสะดวก
ให้ผู้ขอจดสิทธิบัตรไม่ต้องน าจุลชีพนั้นไปแสดงพน้อมการขอจดสิทธิบัตร แต่ต้องใช้ใบรับรองจากสถาบันรับ
ฝากจุลชีพนานาชาติ (International Depositary Authority, IDA) แทน ทั้งนี้ IDA จะต้องได้รับมาตรฐาน
ตามข้อก าหนด ประเทศที่เข้าร่วมสนธิสัญญาบูดาเปสต์ไม่จ าเป็นต้องมี IDA เป็นของตันเอง นอกจากนี้
กฎระเบียบ (regulatory) ข้อ 9.2 ภายใต้สนธิสัญญาบูดาเปสต์ยังก าหนดให้ IDA ท าการรักษาข้อมูลจุลชีพที่รับ
ฝากไว้เป็นความลับ
คณะกรรมาธิการได้มีการพิจารณา โดยมีรายละเอียดดังนี้
กรมทรัพย์สินทางปัญญา ชี้แจงว่า ประเทศไทยมีมาตรการและระบบภายในประเทศที่สอดคล้องกับ
ื่
Budapest treaty อยู่แล้ว จึงไม่ต้องปรับปรุงหรือเปลี่ยนกฎหมายภายในประเทศ แต่ยังต้องด าเนินการเพอยื่น
ภาคยานุวัติสารในการเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาดังกล่าวต่อไป
ประเด็นที่ภาคประชาชนและภาคสาธารณสุขกังวลนั้น เกี่ยวกับขีดจ ากัดความสามารถในการยกระดับ
สถาบันรับฝากเก็บจุลชีพภายในประเทศให้เป็น IDA กรมทรัพย์สินทางปัญญาให้ข้อมูลว่า จากการประชุม
ร่วมกับหน่วยงานด้านการวิจัยและพัฒนาของประเทศไทยในเรื่องนี้ มีบางหน่วยงาน เช่น สถาบันวิจัย
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ส านักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
(สวทช.) และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ (วพ.) ได้แสดงความสนใจและสอบถามข้อมูลเดี่ยวกับการที่จะเป็น
IDA อย่างไรดี Budapest treaty และข้อตกลง CPTPP มีได้บังคับให้รัฐภาคีจะต้องยกระดับสถาบันรับฝาก
เก็บจุลชีพภายในประเทศเป็น IDA แต่หากสามารถจัดตั้ง IDA ภายในประเทศได้จะท าให้ศักยภาพด้านความ
มั่นคงทางชีวภาพและความปลอดภัยทางชีวภาพโดยรวมดีขึ้น
คณะกรรมธิการมีความเห็นว่า ควรมีการเร่งพัฒนากฎหมายในประเทศเพื่อก าหนดให้ผู้ที่ต้องการขอ
ขึ้นทะเบียนยาที่มีส่วนประกอบของจุลชีพ หรือจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับจุลชีพต้องส าแดง
แหล่งที่มาร่วมด้วยให้เร็วที่สุด เพื่อคุ้มครองจุลชพจากแหล่งต้นก าเนิดภานในประเทศไม่ให้มีการน าไปจด
สิทธิบัตรเป็นทรัพย์สินส่วนบุคคล และใช้สิทธิแต่เพียงผู้เดียวได้