Page 72 - Health Impact Assessment of policies related to local pharmaceutical industry development towards technology readiness and access to medicines: HIAPP
P. 72
Health Impact Assessment of policies related to local pharmaceutical industry
58 development towards technology readiness and access to medicines: HIAPP
ค. มูลค่าตลาดของอุตสาหกรรมผลิตยาในประเทศ อาจจะลดลงถึง 100,000 ล้านบาท และมูลค่า
การตลาดขององค์การเภสัชกรรมอาจจะลดลงกว่า 10,000 ล้านบาท ในกรณีที่มีผลกระทบรุนแรงและการ
แข่งขันทางการตลาดสูงโดยเฉพาะจากผู้น าเข้ายา
คณะกรรมาธิการมีความเห็นว่า ควรพิจารณาในประเด็นนี้อย่างรอบคอบและข้อมูลที่เพียงพอจาก
การศึกษาในด้านต่าง ๆ เพราะเป็นผลกระทบระยะยาวทั้งในด้านขีดความสามารถในการแข่งขัน ทั้งด้านการ
วิจัยและพัฒนาของนักวิจัย และการแข่งขันทางการตลาดของอุตสาหกรรมยาไทย ความมั่นคงทางยาและการ
พึ่งพิงการน าเข้าจากต่างประเทศ ตลอดจนราคายาและความสามารถในการเข้าถึงยาของประชาชนไทย
4. ประเด็นการบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรยา (compulsory licensing, CL)
การใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรยาเป็นหนึ่งในข้อยืดหยุ่นของความตกลงว่าด้วยการค้าที่เกี่ยวข้องกับ
ทรัพย์สินทางปัญญา (trade-related aspects of intellectual property rights, TRIPS) ซึ่งได้ก าหนดไว้ใน
พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 และที่แก้ไข้เพิ่มเติมถึง พ.ศ. 2542 โดย CL เป็นมาตรการที่ส าคัญที่ช่วย
ให้ประชาชนเข้าถึงยาได้มากขึ้น และเป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่า ประเทศไทยโดยกระทรวงสาธารณสุขได้
ประกาศใช้ CL มาก่อนแล้วในระหว่าง ปี พ.ศ. 2549 – 2551 ในยา 7 รายการ ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ป่วย
ซึ่งเข้าถคงยาจ าเป็นได้ในวงกว้างและสามารถประหยัดงบประมาณภาครัฐด้านสาธารณสุขรวมสะสมได้
24.677 ล้านบาท (ปี พ.ศ. 2550 – 2558)
ความตกลง CPTPP มีข้อก าหนดเดี่ยวกับ CL ไวเหลายมาตรา ได้แก่ มาตรา 18.6 และ 18.41 และมี
ความเกี่ยวเนื่องข้ามบทในประเด็นส าคัญในบทที่ 9 ซึ่งว่าด้วยการลงทุนในมาตรา 9.5.5, 9.8.5, 9.10.3 และ
โดยเฉพาะภาคผนวก 9-B
คณะกรรมาธิการได้มีการพิจารณา โดยมีรายละเอียดดังนี้
ภาคประชาชนและภาคสาธารณสุขมีความกังวลว่า ประเทศไทยอาจจะไม่สามารถใช้มาตรการบังคับ
ให้สิทธิเหนือสิทธิบัตรได้เช่นเดิม หรืออาจเพิ่มความเสี่ยงที่รัฐจะถูกบริษัทต้นแบบภาคเอกชนห้องร้องได้ง่ายขึ้น
ผ่านกระบวนการอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ
กรมทรัพย์สินทางปัญญาและกรมสิทธิสัญญาและกฎหมาย ให้ข้อมูลว่า ข้อบทในความตกลง CPTPP
ได้ยืนยันสิทธิของประเทศภาคีในการใช้มาตรการ CL ดังนั้น หารปรพเทศไทยเข้าร่วมความตกลง CPTPP
ประเทศไทยจะยังคงสามารถใช้มาตรการ CL ได้เช่นที่ผ่านมา หากได้กระท าตามกรอบความตกลงว่าด้วย
การค้าที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญา (trade-related aspects of intellectual property rights,
TRIPS)