Page 84 - BBLP ejournal2018.docx
P. 84

วารสารเทคโนโลยีชีวภาพการผลิตปศุสัตว์



                     จากผลการทดลองครั้งนี้ชี้ให้เห็นถึงหลักการที่ส าคัญของโปรแกรมนี้คือ การน าฮอร์โมนที่ส าคัญ 2

              ชนิดคือ PGF 2α และ GnRH มาใช้เหนี่ยวน าการตกไข่และก าหนดเวลาผสมเทียมในโคโดย GnRH มี

              จุดประสงค์เพื่อกระตุ้นให้มีการพัฒนาของคลื่นฟอลลิเคิลและเกิดการตกไข่ และ PGF 2α เพื่อการสลายของ

              corpus luteum (Thatcher et al., 2002) แต่โปรแกรม Ovsynch นี้ท าให้โคแสดงอาการเป็นสัดค่อนข้างต ่า

              ประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ จึงท าให้มีปัญหาขณะท าการผสมเทียมและมีอัตราการตั้งท้องต่อการผสมเทียม

              (PA/AI) เพียง 37.3 เปอร์เซ็นต์ เท่านั้น (Navanukraw et al., 2004) ซึ่งปกติการตกไข่จะเกิดขึ้นภายหลัง
              จากฉีด GnRH เข็มประมาณ 1.6-2.5 วัน (Pursley et al., 1995) แต่อย่างไรก็ตามการใช้โปรแกรมเหนี่ยวน า

              การตกไข่ที่ใช้ในปัจจุบันก็ยังพบปัญหาด้านการผสมไม่ติดหรือมีอัตราการผสมติดต ่า ทั้งนี้ Inskeep (2004)

              ได้พบว่าสาเหตุส าคัญที่ก่อให้เกิดปัญหาดังกล่าวเนื่องจากมีอัตราการตายของตัวอ่อนค่อนข้างสูง (high

              mortality rate) ในระยะแรกของการตั้งท้อง เนื่องจากในระยะดังกล่าวในโคมีระดับความเข้มข้นของฮอร์โมน

              P4 ต ่าส่งผลท าให้ระดับความถี่ของจังหวะการหลั่งของฮอร์โมน LH เพิ่มสูงขึ้นจึงไม่สามารถเกิด LH surge

              ได้และท าให้ dominant follicle นั้นไม่สามารถตกไข่ได้ แล้วจึงท าให้อายุของฟอลลิเคิลฟองนั้นยาวนานขึ้น

              กลายเป็น persistent dominant follicle ผลที่ตามมาคือเกิดการสร้างและหลั่งฮอร์โมน estradiol-17β เพิ่ม

              สูงขึ้น จึงท าให้เกิดเกิดภาวะ aged oocyte ส่งผลท าให้ตัวอ่อนในระยะแรกของการตั้งท้องตาย (early

              embryonic death) เพิ่มมากขึ้นด้วยสาเหตุดังกล่าวจึงได้มีการศึกษาวิจัยส าหรับหาแนวทางในการเพิ่มอัตรา
              การผสมติดในช่วงแรกของการตั้งท้องโดยการเสริมฮอร์โมนที่มีฤทธิ์ทั้งทางตรงและทางอ้อมเพื่อที่จะให้

              ระดับของฮอร์โมน P4 เพิ่มสูงขึ้นให้เพียงพอกับรักษาตัวอ่อนในระยะแรกของการตั้งท้องให้มีการรอดตาย

              สูงขึ้น ซึ่งมีหลาย ๆ วิธีเช่นการเสริม progesterone หลังผสมเทียมโดยตรง หรือเสริมGnRH และ hCG

              เพื่อให้เกิดการตกไข่หลังผสมเทียมส าหรับใช้เป็น accessory CL เพิ่มระดับของฮอร์โมน P4 ในช่วงแรกของ

              การตั้งท้องของโคให้สูงขึ้น (Santos et al., 2001) ดังเช่นรายงานการวิจัยของ Sterry et al. (2006) ที่มีการ

              เสริม GnRH ในวันที่ 5 หลังผสมเทียมในโคเพื่อใช้เป็น accessory CL ส าหรับเพิ่มระดับความเข้มข้นของ

              ฮอร์โมน P4 พบมีอัตราการตั้งท้องเพิ่มสูงขึ้นกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับการเสริม  แต่มีความแตกต่างกับรายงาน

              ของ Hittinger et al. (2004) ได้ท าการศึกษาถึงประสิทธิภาพของฮอร์โมน hCG ขนาด 1,500 ไอยู/ตัว ให้แก่

              โคหลังผสมเทียมวันที่ 5-7 พบว่าวันที่ 12 หลังผสมเทียมระดับ progesterone เพิ่มสูงขึ้นกว่ากลุ่มที่ไม่ได้
              เสริมใน แต่อัตราการผสมติดไม่มีความแตกต่าง ซึ่งมีลักษณะเช่นเดียวกับรายงานในปีต่อมาของ Howard

              et al. (2006) ได้ท าการเสริม GnRH ในวันที่ 5 หลังผสมเทียมในโคพบว่าระดับความเข้มข้นของ

              progesterone เพิ่มสูงขึ้นในวันที่ 13 หลังผสมเทียมเมื่อเปรียบกับกลุ่มไม่ได้เสริม GnRH แต่ไม่มีผลต่อ

              conception rates 26.75 เปอร์เซ็นต์ กับ 24.3 เปอร์เซ็นต์ ตามล าดับ (P> 0.05)








                                                           74
   79   80   81   82   83   84   85   86   87   88   89