Page 80 - BBLP ejournal2018.docx
P. 80
วารสารเทคโนโลยีชีวภาพการผลิตปศุสัตว์
Selk et al. (1988) พบว่าแม่โคที่มีคะแนนร่างกาย 2.5 หรือมากกว่าถ้าได้รับโภชนะการไม่เพียงพอ
กับความต้องการจะมีผลให้อัตราการตั้งท้อง และอัตราการมีวงรอบการเป็นสัดปกติลดลง จากการประเมิน
อิทธิผลของโภชนะภายหลังคลอดเพื่อรักษาสภาพร่างกายโคหรือการสูญเสียน ้าหนักตัวหลังคลอด พบว่า
ถ้าคะแนนร่างกายโคลดลง 1 คะแนนจะท าให้อัตราการผสมติดลดลง 21 เปอร์เซ็นต์ และพบว่าถ้าคะแนน
ร่างกายลดลงอย่างต่อเนื่องจนถึงช่วงฤดูผสมพันธุ์แม่โคอาจไม่แสดงการเป็นสัดเลย ฉะนั้นคะแนนร่างกายที่
เหมาะสมที่สุดของแม่โคที่มีผลดีต่อการสืบพันธุ์ของแม่โคมากที่สุดควรอยู่ในระดับ 2.5-3.0 ในขณะที่งาน
ทดลองของ Moreira et al. (2000) ท าการศึกษาผลของสภาพของร่างกายต่อประสิทธิภาพในการสืบพันธุ์ใน
โคนมที่มีการผสมเทียม เมื่อใช้โปรแกรมการเหนี่ยวน าการเป็นสัดและตกไข่ โดยมีการผสมเทียมแบบ
ก าหนดเวลาที่ 48 ชั่วโมง โคนมจ านวน 94 ตัว แบ่งเป็น 2 กลุ่ม โคกลุ่มแรกมี BCS น้อยกว่า 2.5 คะแนน
(ระบบการให้คะแนน 1-5) ส่วนโคกลุ่มที่ 2 มี BCS มากกว่า 2.5 คะแนน ผลการศึกษาพบว่า โคกลุ่มที่มี
BCS น้อยกว่า 2.5 คะแนน มีอัตราการติด (conception rate) ที่มีการตรวจพบหลังจากผสมเทียม 27 วัน
เท่ากับ 18.1±6.1 เปอร์เซ็นต์ น้อยกว่าโคกลุ่มที่มี BCS มากกว่า 2.5 คะแนน ที่มีอัตราการผสมติดเท่ากับ
33.8±4.5 เปอร์เซ็นต์ (P<0.05) ส่วนอัตราการตั้งท้อง (pregnancy rate) หลังจากผสมเทียม 45 วันในโค
กลุ่มที่มี BCS น้อยกว่า 2.5 คะแนน มีค่าเท่ากับ 11.1±5.4 เปอร์เซ็นต์ น้อยกว่าโคกลุ่มที่มี BCS มากกว่า
2.5 คะแนน ที่มีอัตราการตั้งท้องเท่ากับ 25.6±4.1 เปอร์เซ็นต์ (P<0.05) ซึ่งจากงานทดลองของ Moreira et
al. (2000) แสดงให้เห็นว่าสภาพความสมบูรณ์ของร่างกาย มีอิทธิพลระบบสืบพันธุ์ของโคเพศเมีย ท าให้
ส่งผลต่ออัตราการผสมติดและอัตราการตั้งท้องดังกล่าว ดังนั้นในการทดลองครั้งนี้ได้คัดเลือกโคเพศเมียที่มี
สภาพความสมบูรณ์ของร่างกาย BCS อยู่ระหว่าง 2.5-3.00 คะแนน เพื่อลดผลกระทบของสภาพร่างกายต่อ
สมรรถภาพทางการสืบพันธุ์ของโค
จากผลการทดลองพบว่าอัตราการผสมติด (conception rate) จากการเหนี่ยวน าการตกไข่ต่อการ
ผสมเทียมแบบก าหนดเวลาในโคเนื้อลูกผสมพื้นเมืองไทย ซึ่งอัตราการผสมติดของโคตรวจสอบด้วยการ
กลับมาเป็นสัดของโค ยืนยันด้วยระดับความเข้มข้นของฮอร์โมนโปรเจสเทอโรนและโปรตีนจากรกโดยอัตรา
การผสมติดของโคกลุ่มที่ 1 (control) โคกลุ่มที่ 2 (GnRh) และกลุ่มที่ 3 (hCG) หลังจากการผสมเทียม 25
วัน มีค่าเท่ากับ 30 60 และ 50 เปอร์เซ็นต์ ตามล าดับซึ่งมีความแตกต่างอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติ (P<0.05)
โดยพบว่ากลุ่มที่ 2 และ 3 มีอัตราการผสมติดที่ไม่แตกต่างกัน (P>0.05) แต่เมื่อท าการเปรียบเทียบของโค
ในกลุ่มที่ 2 และ 3 กับกลุ่มที่ 1 ซึ่งเป็นกลุ่มควบคุมพบว่ามีอัตราการผสมติดสูงกว่ากลุ่มที่ 1 อย่างมี
นัยส าคัญทางสถิติ (P<0.05) ดังแสดงในตารางที่ 1 ในการใช้ฮอร์โมนโปรเจสเทอโรนชนิดสอดเข้าช่องคลอด
เพื่อเหนี่ยวน าการเป็นสัดร่วมกับการฉีด PGF 2α และ GnRh หรือ hCG และก าหนดเวลาในการผสมเทียมที่
48 ชั่วโมง ให้ผลอัตราการผสมติดที่สามารถยอมรับได้โคกลุ่มที่ 2 (GnRh) และกลุ่มที่ 3 (hCG) ส่วนโคกลุ่ม
ที่ 1 (control) มีอัตราการผสมติดเพียง 30 เปอร์เซ็นต์ โดยโคกลุ่มนี้มีการกลับสัดมากถึง 70 เปอร์เซ็นต์
70