Page 76 - BBLP ejournal2018.docx
P. 76

วารสารเทคโนโลยีชีวภาพการผลิตปศุสัตว์



                                                          ค าน า

                     ปัจจุบันประเทศไทยมีการเลี้ยงโคเนื้อกันเป็นจ านวนมาก ประสิทธิภาพทางการสืบพันธุ์นับเป็น

              ปัจจัยที่ส าคัญอย่างหนึ่งในการเพิ่มผลผลิตของการเลี้ยงโคเนื้อเกษตรกรผู้เลี้ยงโคจึงพยายามที่จะเพิ่ม

              ผลผลิตให้สูง และมีคุณภาพที่ดี โดยมีการใช้เทคโนโลยีการผสมเทียมเข้ามาช่วย ซึ่งการที่จะท าให้การผสม
              เทียมประสบความส าเร็จคือ การก าหนดวันเป็นสัดและการตกไข่ของแม่โคเนื้อให้ถูกต้องและแน่นอน แต่

              การเลี้ยงโคเนื้อมักประสบปัญหาในเรื่องของการจับสัด และระยะเวลาในการเป็นสัด ท าให้มีนักวิจัยท าการ

              พัฒนาการผสมเทียมแบบก าหนดเวลาขึ้นมา เพื่อประสานการตกไข่ในแม่โคให้อยู่ในระระเวลาที่แน่นอน

              โดยทั่วไปแม่โคที่เริ่มเข้าสู่วงรอบของการเป็นสัดมักจะอยู่ในขั้นตอนต่างๆ ของวงจรการเป็นสัด ซึ่ง

              โปรแกรมการผสมเทียมแบบก าหนดเวลาถูกออกแบบมาเพื่อ 1) ควบคุมการเปลี่ยนแปลงของคลื่นฟอลลิ

              เคิล 2) ท าให้เกิดการสลายคอร์ปัสลูเทียม และ 3) ก่อให้เกิดการตกไข่จากฟอลลิเคิลที่มีความสมบูรณ์ พร้อม

              ส าหรับการปฏิสนธิจากน ้าเชื้อที่ได้รับในการผสม (Busch et al.,2007)

                     การพัฒนาการใช้ฮอร์โมนเพื่อเหนี่ยวน าการเป็นสัดเริ่มพัฒนาเป็นเวลากว่า 50 ปีมาแล้ว ท าให้

              ทราบถึงกระบวนการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเหนี่ยวน าให้เกิดการเป็นสัดโดยขึ้นอยู่กับการควบคุมของ
              ระยะเวลาในช่วง estrous cycle ซึ่งมีการพัฒนาเลือกใช้ชนิดของฮอร์โมน ระยะเวลาการให้ รูปแบบการให้

              หรือการใช้โปรแกรมฮอร์โมนต่างๆ นั้น มีการพัฒนามากันแล้วหลายวิธีและเป็นการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

              เพื่อให้เกิดวิธีที่ดีของแต่ละฟาร์มโคเนื้อที่จะเหนี่ยวน าการเป็นสัดในแม่โคและสามารถผสมเทียมในเวลาที่

              ก าหนด เพื่อท าให้อัตราการตั้งท้องสูงขึ้นในแม่โคเนื้อ โดยไม่ต้องตรวจสอบการเป็นสัด ซึ่งโปรแกรมการใช้

              ฮอร์โมนที่มีประสิทธิภาพที่ดีวิธีหนึ่งในการท าให้อัตราการตั้งท้องสูงขึ้นในโคเนื้อก็คือการใช้ฮอร์โมน

              progesterone ร่วมกับ prostaglandin F 2α (PGF 2α) และ gonadotropin-releasing hormone (GnRH) หรือ

              Human chorionic gonadotropin (hCG) (Bao B, 1998)



                                                อุปกรณ์และวิธีการทดลอง
              1. สัตว์ทดลอง


                     ในการทดลองนี้ได้คัดเลือกโคลูกผสมบราห์มัน-พื้นเมืองเพศเมียสายเลือด 50 เปอร์เซ็นต์ ที่ผ่านการ
              สืบทะเบียนประวัติ จากฟาร์มเครือข่ายศูนย์วิจัยการผสมเทียมและเทคโนโลยีชีวภาพอุบลราชธานี กรมปศุ

              สัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จ านวน 30 ตัว มีอายุระหว่าง 15-24 เดือน น ้าหนักระหว่าง 280-300

              กิโลกรัม มีคะแนนความสมบูรณ์ร่างกาย (BCS) อยู่ระหว่างคะแนน 2.5-3 ตามเกณฑ์การให้คะแนนของ

              Ferguson et al. (1994) เป็นโคเพศเมียมีระบบสืบพันธุ์ปกติและมีวงรอบการเป็นสัดสม ่าเสมอ โดยได้รับ

              การตรวจความสมบูรณ์ของมดลูกและรังไข่




                                                           66
   71   72   73   74   75   76   77   78   79   80   81