Page 85 - BBLP ejournal2018.docx
P. 85

Journal of Biotechnology in Livestock Production



                     เมื่อเริ่มการทดลองพบว่าคะแนนสภาพร่างกายโคและน ้าหนักโคมีค่าเฉลี่ย (Mean±SD) ไม่แตกต่าง

              กันทางสถิติ (P>0.05) หลังจากการผสมเทียมในโคที่ไม่พบการกลับสัดจะตรวจยืนยันการตั้งท้องด้วย ระดับ

              ความเข้มข้นของฮอร์โมนโปรเจสเทอโรนในพลาสมา

                     อัตราการผสมติดยืนยันด้วยระดับความเข้มข้นของฮอร์โมนโปรเจสเทอโรน และโปรตีนจากรก ใน
              วันที่ 14 อัตราการผสมติดของโคในกลุ่มที่ 1 กลุ่ม 2  และกลุ่มที่ 3 มีค่าเท่ากับ 30%, 60% และ 50%

              ตามล าดับ โดยพบว่ากลุ่มที่ 2 และ 3 มีอัตราการผสมติดที่ไม่แตกต่างกัน (P>0.05)  แต่เมื่อท าการ

              เปรียบเทียบของโคในกลุ่มที่ 2 และ 3 กับกลุ่มที่ 1 ซึ่งเป็นกลุ่มควบคุมพบว่ามีอัตราการผสมติดสูงกว่ากลุ่ม

              ที่ 1 อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติ (P<0.05) ในการศึกษาการเสริม GnRH (Cystorelin) ในวันที่ 5 และ11 หลัง

              การผสมเทียมในโคสาวและโครีดนมที่เกิดความเครียดในช่วงฤดูร้อน เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการสืบพันธุ์

              พบว่ากลุ่มที่เสริม GnRH ในวันที่ 5 มีจ านวนคอร์ปัสลูเทียลมากกว่ากลุ่มที่เสริมในวันที่ 11 หลังผสมและ

              กลุ่มควบคุม อัตราการผสมติดในกลุ่มที่เสริมฮอร์โมนซึ่งสูงกว่ากลุ่มควบคุมแตกต่างอย่างมีนัยส าคัญทาง
              สถิติ (P<0.05)

                     การตั้งท้องของโคได้รับการยืนยันด้วยการล้วงตรวจผ่านทางทวารหนักเมื่อครบ 90 วันหลังจากท า

              การผสมเทียม ผลการวิจัยพบว่าอัตราการตั้งท้องของโคกลุ่มที่ 1 กลุ่ม 2 และ 3 มีค่าเท่ากับ 20 %, 40%

              และ 40% ตามล าดับ แต่เมื่อเปรียบเทียบโคกลุ่มที่ 2 กับโคกลุ่มที่ 3 พบว่ามีอัตราการตั้งท้องไม่แตกต่างกัน

              (40 % vs 40%; P>0.05)  อย่างไรก็ตามเมื่อท าการเปรียบเทียบโคกลุ่มที่ 2 และ 3 กับโคกลุ่มที่ 1 ซึ่งเป็น

              กลุ่มควบคุมกลับพบว่าโคกลุ่มที่ 2 และ 3 มีอัตราการตั้งท้องที่สูงกว่ากลุ่มที่ 1 อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติ

              (P<0.05) ในการศึกษาหาความสัมพันธ์ของการตั้งท้องและการใช้ Progesterone ร่วมกับ PGF 2α และ

              GnRH สังเคราะห์ GnRH ธรรมชาติ หรือ hCG ในโคเนื้อสาว ซึ่งพบว่ามีความสัมพันธ์กับจ านวนของการตั้ง

              ท้องในกลุ่มโคสาว (p<0.05) ที่มีการใช้ฮอร์โมน GnRH ธรรมชาติ มีการตั้งท้องจ านวน 24 จากทั้งหมด 29

              ตัวคิดเป็น 82.76% ของกลุ่ม และใน แม่โคกลุ่มที่มีการใช้ฮอร์โมน hCG มีการตั้งท้องจ านวน 12 จาก

              ทั้งหมด 14 ตัวคิดเป็น 85.71% ของกลุ่มเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม จึงให้เหตุผลว่าการประยุกต์
              วิธีการเหนี่ยวน าการตกไข่โดยการเสริมฮอร์โมน GnRh หรือ hCG ในวิธีการ Ovsynch  หลังการผสมเทียม

              นั้นเพื่อสร้าง CL ให้เพิ่มขึ้น (accessory CL) เมื่อจ านวน CL เพิ่มขึ้นความเข้มข้นของฮอร์โมน Progertone

              (P4) ก็เพิ่มขึ้นในวันที่ 12 ภายหลังการผสมเทียมระดับความเข้มข้นของฮอร์โมน P4 ที่สูงขึ้นส่งผลต่อ

              สภาพแวดล้อมของมดลูกและการพัฒนาการของเอมบริโอในวันที่ 13-16 ของการตั้งท้อง


                                                    สรุปผลการทดลอง

                     ผลจากการศึกษา ผลของโปรแกรมการเหนี่ยวน าการตกไข่และผสมเทียมแบบก าหนดเวลาที่ 48

              ชั่วโมง โดยการใช้ Progesterone ร่วมกับ PGF 2α และ GnRH หรือ hCG ในโคเนื้อลูกผสมพื้นเมืองไทย ใน




                                                           75
   80   81   82   83   84   85   86   87   88   89   90