Page 34 - แผนการสอน 63-2
P. 34

8



               ขั้นที่ 3  อธิบายและลงข้อสรุป

                       1. ให้นักเรียนตอบค าถามท้ายกิจกรรม จากนั้นน าเสนอ และอภิปรายค าตอบร่วมกันเพื่อให้ได้ข้อสรุป
               ว่า อนุภาคของของแข็งจะสั่นอยู่กับที่และเรียงชิดกัน โดยมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคมากกว่าของเหลวและ
               แก๊ส อนุภาคของของเหลวอยู่ใกล้กัน โดยมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคน้อยกว่าของแข็งแต่มากกว่าแก๊ส
               อนุภาคของของเหลวจึงเคลื่อนที่ได้ แต่ไม่เป็นอิสระ โดยจะเคลื่อนที่รอบ ๆ อนุภาคใกล้เคียง อนุภาคของแก๊ส

               อยู่ห่างกันมาก โดยมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคน้อยมาก อนุภาคจึงเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระทุกทิศทาง
                       2. ร่วมกันอภิปรายเพื่อให้ได้ข้อสรุปว่า สสารเป็นสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวเรา มีมวล และต้องการที่อยู่
               พบได้ทั้งในสถานะของแข็ง ของเหลว และแก๊ส สสารในสถานะที่แตกต่างกันมีสมบัติทั้งที่เหมือนกันและ
               แตกต่างกัน


               ขั้นที่ 4  ขยายความรู้
                       1. ให้นักเรียนอ่านเนื้อหาในหนังสือเรียน พร้อมทั้งให้ตอบค าถามระหว่างเรียน เพื่อให้นักเรียน
               สามารถอธิบายและเปรียบเทียบการจัดเรียงอนุภาค แรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค และการเคลื่อนที่ของ

               อนุภาคของสสารในแต่ละสถานะได้ถูกต้องครบถ้วน รวมทั้งสามารถอธิบายรูปร่างและปริมาตรของสสารในแต่
               ละสถานะได  ้
                       2. เชื่อมโยงไปสู่การเรียนในเรื่องต่อไปว่า เมื่อสสารในแต่ละสถานะได้รับหรือสูญเสียความร้อน จะ

               ส่งผลต่ออุณหภูมิของสสารหรือไม่ อย่างไร และปัจจัยใดบ้างที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของสสาร

               ขั้นที่ 5 การวัดและประเมินผล
                       1.  สังเกตพฤติกรรมของนักเรียนขณะเข้าร่วมกิจกรรมการออกแบบจ าลองอนุภาคของสาร
                            การท างานร่วมกันเป็นกลุ่ม การตอบค าถามในชั้นเรียน  การมีส่วนร่วมในการอภิปราย

                       2.  การตอบค าถามในหนังสือเรียน และประเมินผลการสืบค้น

               สื่อ / แหล่งการเรียนรู้

                       1. หนังสือเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 สสวท.
                       2. สื่อ AR (Augmented Reality) แสดงการจัดเรียงอนุภาค แรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค และ
                             การเคลื่อนที่ของอนุภาคของสสารในแต่ละสถานะ
                       3. วัสดุและอุปกรณ์

                                     1. กระดาษ                    2. ดินสอสี
                                     3. กรรไกร                    4. ดินน้ ามัน
                                     5. โฟม                       6. ลูกปิงปอง
                       4.  เว็บไซต์รวบรวมข้อมูลแบบจ าลองอนุภาคของสสารแต่ละสถานะเกี่ยวกับการจัดเรียงอนุภาค

                              แรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค และการเคลื่อนที่ของอนุภาคของสสารในสถานะของแข็ง
                              ของเหลว และแก๊ส จากสื่อบนอินเทอร์เน็ตหรือแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ เช่น
                              https://www.chem.purdue.edu/gchelp/atoms/states.html
                              https://phet.colorado.edu/en/simulation/states-of-matter
   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39