Page 17 - แผนการสอน 61-2
P. 17
8
3. ร่วมกันอภิปรายเพื่อให้ได้ข้อสรุปว่าการสั่นและการเคลื่อนที่ของอนุภาคท าให้เกิดพลังงานความ
ร้อนในสสาร ซึ่งเราไม่สามารถวัดได้โดยตรง แต่เราสามารถวัดระดับพลังงานความร้อนของสสารได้ด้วยการวัด
อุณหภูมิโดยใช้เทอร์มอมิเตอร์
ขั้นที่ 2 ส ารวจและค้นหา
1. น าเข้าสู่กิจกรรมที่ 5.2 ปัจจัยใดบ้างที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของสสาร โดยอาจอ่านเนื้อ
เรื่องและใช้ค าถามกระตุ้นความสนใจก่อนเข้าสู่กิจกรรมในหนังสือเรียนหน้า 13
2. ครูอาจใช้เทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบค่อย ๆ ปล่อยความรับผิดชอบ โดย
ตอนที่ 1 ครูเป็นผู้สาธิตการท าการทดลองหน้าชั้นเรียน
ตอนที่ 2 นักเรียนท าการทดลองเป็นกลุ่มย่อยตามวิธีการทดลองในหนังสือเรียนวิทยาศาสตร์
ตอนที่ 3 นักเรียนแต่ละกลุ่มออกแบบและท าการทดลองด้วยตัวเองเพื่อตอบค าถามที่ครู
ก าหนดให้
3. ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4 - 5 คน อ่านวิธีการดาเนินกิจกรรมตอนที่ 1-3 ในหนังสือเรียน
3.1 ร่วมกันระบุปัญหา สมมติฐาน และตัวแปรที่เกี่ยวข้องของการทดลองนี้
3.2 ให้นักเรียนออกแบบการทดลองเพื่อตรวจสอบสมมติฐาน
3.3 นักเรียนวางแผนการท างานร่วมกัน ระบุวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องการ พร้อมทั้งออกแบบตาราง
บันทึกผลให้เรียบร้อยก่อนท ากิจกรรม
4. นักเรียนท ากิจกรรมตามขั้นตอนพร้อมกับบันทึกการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
ขั้นที่ 3 อธิบายและลงข้อสรุป
1. ร่วมกันอภิปรายและตอบค าถามท้ายกิจกรรม จากนั้นน าเสนอและเปรียบเทียบผลการท ากิจกรรม
กับกลุ่มอื่น ๆ หากมีข้อมูลใดคลาดเคลื่อนควรอภิปรายแก้ไขให้ถูกต้อง
2. ให้นักเรียนอภิปรายเพื่อให้ได้ข้อสรุปปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของสสารดังน ี้
ตอนที่ 1 ปริมาณความร้อนที่น้ าได้รับส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของน้ า โดยน้ าใน
บีกเกอร์ที่ได้รับความร้อนจากเทียนไข 2 เล่ม มีอุณหภูมิสูงขึ้นมากกว่า ในบีกเกอร์ที่ได้รับความร้อนจาก
เทียนไข 1 เล่ม
ตอนที่ 2 มวลของน้ ามีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของน้ า โดยน้ ามวล 75 กรัมมีอุณหภูมิ
สูงขึ้นมากกว่าน้ ามวล 150 กรัม เมื่อได้รับความร้อนปริมาณเท่ากัน
ตอนที่ 3 ชนิดของสสารมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ โดยเมื่อเวลาผ่านไป กลีเซอรอล
หรือน้ ามันพืชมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้นมากกว่าน้ า
3. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปถึงปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของสสาร ได้แก่
ปริมาณความร้อนที่สสารได้รับ มวลของสสาร และชนิดของสสาร