Page 32 - แผนการสอน 61-2
P. 32
23
3. ให้นักเรียนอ่านค าส าคัญ ครูชี้แจงว่าเมื่อเรียนจบเรื่องนี้แล้ว นักเรียนจะสามารถอธิบายค าส าคัญนี้
ได้ด้วยตนเอง
4. ให้นักเรียนท ากิจกรรมทบทวนความรู้ก่อนเรียนเพื่อประเมินความรู้พื้นฐานของนักเรียน เกี่ยวกับ
ความหมายของการถ่ายโอนความร้อนและการจัดเรียงอนุภาค การเคลื่อนที่ของอนุภาคของสสารในแต่ละ
สถานะ หากพบว่านักเรียนยังมีความรู้พื้นฐานไม่ถูกต้อง ครูควรทบทวนหรือแก้ไขความเข้าใจผิดของนักเรียน
เพื่อให้มีความรู้พื้นฐานเพียงพอในการเรียนต่อไป
5. ให้นักเรียนอ่านจุดประสงค์การเรียนรู้ของบท เพื่อให้นักเรียนทราบเป้าหมายและแนวทางการ
ประเมินผลของบทเรียนนี้
6. น าอภิปรายเพื่อเชื่อมโยงไปสู่เรื่องที่ 1 การถ่ายโอนความร้อนในชีวิตประจ าวัน
ขั้นที่ 2 ส ารวจและค้นหา
1. ให้นักเรียนท ากิจกรรม รู้อะไรบ้างก่อนเรียน โดยเขียนสิ่งที่รู้เกี่ยวกับวิธีการถ่ายโอนความร้อนเพื่อ
ตรวจสอบความรู้เดิมของนักเรียน
2. กระตุ้นความสนใจโดยใช้ภาพแสดงแท่งเหล็กที่มีลูกชิ้นเสียบไว้หลายลูก ปลายด้านหนึ่งของแท่ง
เหล็กได้รับความร้อนครูกระตุ้นให้นักเรียนคิดว่ามีการถ่ายโอนความร้อนอย่างไร ลูกชิ้นที่ต าแหน่งใดจะสุกก่อน
เพื่อเชื่อมโยงเข้าสู่กิจกรรมที่ 5.5 ความร้อนถ่ายโอนผ่านของแข็งได้อย่างไร
3. แบ่งกลุ่มนักเรียน กลุ่มละ 4 - 5 คน เพื่อท ากิจกรรมที่ 5.5 ความร้อนถ่ายโอนผ่านของแข็งได้
ิ
อย่างไร ตามวธีการในหนังสือเรียน สังเกตการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
4. ให้นักเรียน 1 - 2 กลุ่ม น าเสนอผลการสังเกต นักเรียนกลุ่มอื่นฟังการน าเสนอ เพื่อเปรียบเทียบผล
การท ากิจกรรมร่วมกัน หากมีข้อผิดพลาดควรอภิปรายเพื่อแก้ไขให้ถูกต้อง
5. ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มอภิปรายร่วมกันเพื่อวาดแบบจ าลองการถ่ายโอนความร้อนผ่านของแข็ง โดย
แสดงถึงการจัดเรียงอนุภาคของของแข็งเมื่อได้รับความร้อน จากนั้นน าเสนอแบบจ าลองที่สร้างขึ้นตาม
ความคิดของตนเอง
6. ให้นักเรียนร่วมกันสืบค้นข้อมูลการถ่ายโอนความร้อนผ่านของแข็งจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ เชน
่
หนังสือ หรือเว็บไซต์ นักเรียนน าข้อมูลที่รวบรวมได้มาปรับ แก้แบบจ า ลองของตนเอง พร้อมทั้งอธิบาย
แนวทางในการปรับแก้แบบจ าลองอีกครั้งหลังการท ากิจกรรม
ขั้นที่ 3 อธิบายและลงข้อสรุป
1. ร่วมกันอภิปรายโดยใช้การถามตอบเพื่อให้ได้ข้อสรุปว่า การน าความร้อนเป็นการถ่ายโอนความ
ร้อนโดยการสั่นของอนุภาค เมื่ออนุภาคซึ่งเป็นตัวกลางได้รับความร้อน อนุภาคนั้นจะสั่นมากขึ้น มีอุณหภูมิ
เพิ่มขึ้น และไปชนกับอนุภาคที่อยู่ข้างเคียง ท าให้อนุภาคที่อยู่ข้างเคียงสั่นมากขึ้น และมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้นตามไป
ด้วย ความร้อนจะถ่ายโอนจากบริเวณที่อยู่ใกล้แหล่งพลังงานความร้อนไปยังบริเวณที่ห่างออกไป การน าความ
ร้อนเกิดขึ้นกับสสารได้ทุกสถานะ สสารแต่ละชนิดจะน าความร้อนได้แตกต่างกัน ดังนั้นเราสามารถน าความรู้
เกี่ยวกับการน าความร้อนไปใช้ในการเลือกวัสดุให้เหมาะสมกับการใช้งาน
2. ให้นักเรียนเขียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ตามความเข้าใจของตนเองลงในสมุดบันทึก และให้นักเรียน
ยกตัวอย่างการน าความรู้เกี่ยวกับเรื่องการน าความร้อนไปใช้ในกิจกรรมอื่น ๆ นอกเหนือจากในหนังสือเรียน
3. เชื่อมโยงความรู้ที่ได้เรียนรู้ไปสู่กิจกรรมต่อไปโดยใช้ค าถามว่ามีการถ่ายโอนความร้อนด้วยวิธีอื่นอีก
หรือไม่ อย่างไร