Page 6 - รายงานวิจัยชั้นเรียนปี 2562 กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์
P. 6
1
บทที่ 1
บทนำ
วิทยาศาสตร์มีบทบาททสำคัญอย่างยิ่งในสังคมโลกปัจจุบันและอนาคต เพราะวิทยาศาสตร์เกี่ยวข้องกับ
ี่
ชีวิตของทุกคน ทั้งในการดำรงชีวิตประจำวันและในงานอาชีพต่างๆ เครื่องมือเครื่องใช้ ตลอดจนผลผลิตต่างๆ ที่ใช้
เพื่ออำนวยความสะดวกในชีวิตและการทำงาน ล้วนเป็นผลของความรู้ทางวิทยาศาสตร์ผสมผสานกับความคด
ิ
สร้างสรรค์และศาสตร์อื่นๆ วิทยาศาสตร์ทำให้คนได้พัฒนาวิธีคิด ทั้งความคิดเป็นเหตุเป็นผล คิดสร้างสรรค์ คิด
วิเคราะห์ มีทักษะสำคัญในการค้นคว้าหาความรู้ มีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ สามารถตัดสินใจ
ใช้ข้อมูลหลากหลายและประจักษ์พยานที่ตรวจสอบได้ วิทยาศาสตร์เป็นวัฒนธรรมของโลกสมัยใหม่ซึ่งเป็นสังคม
แห่งการเรียนรู้ (knowledge based society) ทุกคนจึงจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาให้รู้วิทยาศาสตร์(scientific
literacy for all) เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจโลกธรรมชาติและเทคโนโลยีที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้น และนำความรู้ไป
ใช้อย่างมีเหตุผล สร้างสรรค์ มีคุณธรรม ความรู้วิทยาศาสตร์ไม่เพียงแต่นำมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดี แต่ยัง
ช่วยให้คนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ การดูแลรักษา ตลอดจนการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
และทรัพยากรธรรมชาติอย่างสมดุลและยั่งยืน และที่สำคัญอย่างยิ่งคือ ความรู้วิทยาศาสตร์ช่วยเพิ่มขีด
ความสามารถในการพัฒนาเศรษฐกิจสามารถแข่งขันกับนานาประเทศและดำเนินชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมโลกได้
อย่างมีความสุข (กระทรวงศึกษาธิการ. 2544: 1)
การจัดการศึกษาวิทยาศาสตร์สำหรับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งหวังให้ผู้เรียนได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์
ที่เน้นกระบวนการไปสู่การสร้างองค์ความรู้ โดยผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนทุกขั้นตอนผู้เรียนจะได้ทำกิจกรรมที่
หลากหลาย ทั้งเป็นกลุ่มและรายบุคคล โดยอาศัยแหล่งเรียนรู้ที่เป็นสากลและท้องถิ่น
(กระทรวงศึกษาธิการ.2544:5) การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์จึงจำเป็นต้องมีการเชื่อมโยงความรู้กับกระบวนการ
สอนต้องเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การจัดกิจกรรมเน้นผู้เรียนได้พัฒนาความคิด ทั้งความคิดที่เป็นเหตุผลเป็นผล คิด
สร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์วิจารณ์ มีทักษะในการศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง (สถาบันส่งเสริมการ
สอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2546: 1) โดยผู้สอนมีบทบาทในการวางแผนการเรียนรู้ กระตุ้น แนะนำ ส่งเสริม
สนับสนุนให้ผู้เรียนเกิดการแสวงหาความรู้ โดยจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกปฏิบัติให้ทำ
ได้ คิดเป็น ทำเป็น รักการอ่าน และเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง ผสมผสานสาระความรู้ต่างๆได้สัดส่วนที่สมดุลกัน
ปลูกฝังคุณธรรมค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ (กระทรวงศึกษาธิการ.
2544: 3)
การพัฒนาการเรียนการสอนของครูผู้สอนจะต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะช่วยให้เกิดการขับเคลื่อนการ
ปฏิรูปการเรียนรู้ในโรงเรียน ผู้เรียนมีคุณลักษณะเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ สามารถสร้างเสริมเติมเต็มกระบวนการ
คิด มีความรู้และทักษะที่จำเป็นตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตรการศึกษาของชาติ
โดยเน้นผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติ สรุปและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองและสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้อย่าง
ี่
เหมาะสมสอดคล้องกับการดำเนินชีวิต ดังนั้นผู้สอนควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีความคิดรวบยอดหลักทครอบคลุม
ื่
ตามมาตรฐานการเรียนรู้ เพอให้ผู้เรียนได้ใช้เหตุผลประกอบการตัดสินใจและมีมมมองได้อย่างหลากหลาย สามารถ
ุ
อธิบายและอ้างอิงได้บนพื้นฐานที่มีอยู่อย่างเพียงพอ
กระบวนการสอนแบบวัฏจักรการเรียนรู้ (learning Cycle) เป็นรูปแบบการสอนที่ใช้วิธีการสืบเสาะหา
ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ (Inquiry Approach) ที่มุ่งให้ผู้เรียนแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง โดยใช้กระบวนการทาง