Page 11 - รายงานวิจัยชั้นเรียนปี 2562 กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์
P. 11
6
2. วัฏจักรการเรียนรู้แบบ 5 ขั้น
1) ความหมาย
วัฏจักรการเรียนรู้ (Learning Cycle) เป็นรูปแบบของกระบวนการเรียนรู้ที่นักวิทยาศาสตร์ศึกษาได้
คิดค้นขึ้น เพื่อให้ผู้เรียนสามารถใช้วิธีการสืบเสาะในการหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ (Inquiry Approach) ที่ต้อง
อาศัยทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ในการค้นพบความรู้หรือประสบการณการเรียนรู้อย่างมีความหมายด้วย
์
ตนเอง โดยมีพนฐานมาจากแนวทฤษฎีสร้างสรรค์นิยม (Constructivism) ซึ่งไม่เน้นสอนแบบบรรยาย หรือบอก
ื้
เล่า หรือให้ผู้เรียนเป็นผู้รับเนื้อหาวิชาต่างๆ จากครู หากแต่ครูจะต้องกระตุ้นให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง
ให้สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม โดยมีความเชื่อว่านักเรียนมีวัฏจักรการเรียนรู้อยู่แล้ว
การสอนโดยวัฏจักรการเรียนรู้ (The 5E Learning Cycle Model) หมายถึง การจัดกิจกรรมการเรียน
การสอนที่เป็นกระบวนการ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องซึ่งเป็นรูปแบบของแผนการสอนโดยใช้ขั้นตอนดังนี้ (Barman
and Kotar. 1989: 30 - 31)
1. ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน (Engagement Phase)
2. ขั้นสำรวจ (Exploration Phase)
3. ขั้นอธิบาย (Explanation Phase)
4. ขั้นขยายความรู้ (Expansion Phase)
5. ขั้นประเมินผล (Evaluation Phase)
รูปแบบการสอนโดยวัฏจักรการเรียนรู้ (The 5E Learning Cycle Model) ได้พัฒนาขึ้นวงจรการเรียนรู้
โดยการพัฒนาหลักสูตรการพฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์ (SCIS) เพื่อสอนให้นักเรียนได้เข้าใจกระบวนการสืบ
ั
ิ
เสาะหาคำตอบ อธิบายปรากฏการณ์ที่เกดขึ้นฝึกให้นักเรียนรู้จักกระบวนการติดตามที่นักปราชญ์ได้จัดระบบ
ความรู้ สรุปเป็นหลักการ โดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ และเน้นให้เด็กมีทักษะในการสืบเสาะหาความรู้ซึ่งให้
นักเรียนร่วมกันวินิจฉัย ประยุกต์ตัวอย่างใหม่มาใช้ และได้ถูกใช้ในวิทยาศาสตร์แผนใหม่ (BSCS) เป็นโปรแกรมที่
ได้พัฒนารูปแบบนี้จากการวิเคราะห์การทำงานของนักวิจัยที่มีความสร้างสรรค์โดยเฉพาะนักวิทยาศาสตร์ จาก
การศึกษาองค์ประกอบของการสืบเสาะหาความรู้ของหลักการวักจักรการเรียนรู้เหล่านี้ ได้พัฒนารูปแบบการสอน
ที่เรียกว่า (5E - Learning Cycle Model) ขึ้น
ในแต่ละขั้นของการสอนแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้นมีรายละเอียดดังนี้
1. ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน (Engagement Phase) เป็นขั้นที่ครูกระตุ้นหรือเร้าความสนใจของนักเรียนให้
เกิดความต้องการ ความสนใจในการเรียนและความอยากรู้อยากเห็น โดยการสนทนาตั้งคำถาม / หรือใช้เทคนิควิธี
และสื่อประกอบ เช่น รูปภาพ นิทาน เพลง บทกลอน หรือทบทวนมโนทัศน์และประสบการณ์เดิมของนักเรียน
2. ขั้นสำรวจ (Exploration Phase) เป็นขั้นที่ครูกระตุ้นให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมซึ่งมีลักษณะ
้
ผสมผสานระหว่างการฟัง การอ่าน การพูด การดู และการกระทำร่วมกันเพื่อให้ผู้เรียนค้นพบขอความรู้ด้วยตนเอง
ั
โดยใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ พร้อมทั้งเป็นการฝึกให้นักเรียนรู้จักการทำงานเป็นทีม ฝึกทกษะทาง
สังคม และการฝึกกิจนิสัยในการทำงานด้วยความกระตือรือร้นรอบคอบ รับผิดชอบ ซื่อสัตย์ รักษาเวลาและใช้
เหตุผล ครูทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้คือผู้กระตุ้นส่งเสริมและชี้แนะแนวทางให้แก่นักเรียน
3. ขั้นอธิบาย (Explanation Phase) เป็นขั้นที่ครูกระตุ้นให้นักเรียนอธิบายมโนทัศน์ด้วยตนเองโดยครู
ื่
ตั้งคำถามชักจูงใจเพอให้นักเรียนอ้างอิงสิ่งที่เป็นพยานหลักฐานความคิดและความเชื่อเกี่ยวกับมโนทัศน์นั้นๆ หรือ
กระตุ้นให้ผู้เรียนใช้ความรู้และประสบการณ์เดิมเป็นหลักฐานของการอธิบายขยายความเข้าใจของนักเรียนมาก
ยิ่งขึ้น