Page 7 - รายงานวิจัยชั้นเรียนปี 2562 กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์
P. 7

2

               วิทยาศาสตร์ในการค้นพบความรู้ หรือประสบการณ์เรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกคิด ฝึกปฏิบัติ และแก้ปัญหาได้ด้วย
               ตนเอง โดยมีกระบวนการในการสืบเสาะหาความรู้ที่สำคัญ 5 ขั้น (5E)  คือ

                1) ขั้นสร้างความสน (Engagement)  2) ขั้นสำรวจและค้นหา (Exploration)  3) ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป
               (Explanation)  4) ขั้นขยายความรู้ (Elaboration)  5) ขั้นประเมิน (Evaluation) ซึ่งกระบวนการเรียนการสอน
               ทั้ง 5 ขั้นจะเกิดต่อเนื่องกันไปเป็นวัฏจักร (Cycle) จึงช่วยให้ผู้เรียนเกิดทักษะการเรียนรู้ทั้งเนื้อหา หลักการ ทฤษฎี
               ตลอดจนการได้ลงมือปฏิบัติ สามารถสร้างสรรค์องค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง ซึ่งถือว่าเป็นการเรียนรู้ที่ยั่งยืน (สถาบัน
               ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2546: 220)

                                                                      ้
                      การค้นคว้าเอกสารและวิจัยดังกล่าวข้างต้น ทำให้ผู้ศึกษาคนคว้าต้องการที่จะนำรูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้
               5 ขั้น มาใช้สอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงลัพธ์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 โดยพัฒนา
               แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น เพราะอาจจะเป็นวิธีที่ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้โดย

               การได้ลงมือปฏิบัติจริง เป็นการพัฒนาความสามรถของผู้เรียนในการคิดแก้ปัญหาโดยใช้กระบวนการทาง
               วิทยาศาสตร์ ฝึกการแสวงหาความรู้ สร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง ตลอดจนฝึกการทำงานอย่างมีระบบ สุดท้ายผู้
               ศึกษาค้นคว้าหวังว่าผู้เรียนน่าจะเกิดค่านิยมและความพึงพอใจในการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ส่งผลให้นักเรียนมี
               ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์สูงขึ้น


               วัตถุประสงค์การวิจัย
                                                                       ึ
                   1.  เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศกษาปีที่ 5/1  เรื่อง แรงในชีวิตประจำวัน
                   2.  เพื่อศึกษาผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง แรงลัพธ์ หลังการเรียนโดยใช้รูปแบบวัฏจักร

                      การเรียนรู้ 5 ขั้น เทียบกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ก่อนเรียน
                          ▪  การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง แรงในชีวิตประจำวัน ก่อนเรียนและหลังเรียน
                                       ึ
                   3.  เพื่อประเมินความพงพอใจของนักเรียนในการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น


               ขอบเขตของการวิจัย

                ประชากร
                      นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  โรงเรียนวีรศิลป์  อำเภอ ท่าม่วง  จังหวัดกาญจนบุรี
               ปีการศึกษา 2562   จำนวน 299 คน
               กลุ่มตัวอย่าง
                      นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1  โรงเรียนวีรศิลป์   จำนวน 47 คน


                      ตัวแปรในงานวิจัย คือ การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ในวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง แรง
               ลัพธ์

                   ▪  ตัวแปรต้น      การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้
                   ▪  ตัวแปรตาม      ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน
                                     ความสามารถในการประเมินการเรียนรู้และทักษะการทำงานกลุ่ม
                                     ความพึงพอใจของนักเรียนในการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้
   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12