Page 12 - รายงานวิจัยชั้นเรียนปี 2562 กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์
P. 12
7
4. ขั้นขยายความรู้ (Expansion Phase) นักเรียนสามารถประยุกต์ใช้มโนทัศน์ในสถานที่ใหม่ได้หรือไม่
โดยตั้งคำถามใหม่หรือให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมใหม่หรืออาจให้นักเรียนแสดงความคิดของตนเพอยืนยันความคิด
ื่
และความเชื่อของตนเอง โดยการตั้งคำถาม เช่น “อะไรที่นักเรียนรู้จักการปฏิบัติกิจกรรม” หรือ “ทำไมนักเรียนจึง
คิดเช่นนั้น”
5. ขั้นประเมินผล (Evaluation Phase) นักเรียนประเมินการเรียนรู้และทักษะการทำงานกลุ่มของ
ตนเองเป็นการตรวจสอบว่า นักเรียนเกิดการเรียนรู้ทั้งศักยภาพทางวิชาการและนอกวิชาการหรือไม่และอย่างไร
2) ความเป็นมาและแนวคิดสำคัญ
วัฏจักรการเรียนรู้นี้พัฒนาขึ้นโดยคาร์พลัส และ เทียร์ (Karplus and Their. 1967 : 56) ในโครงการ
ปรับปรุงหลักสูตรวิทยาศาสตร์ (Science Curriculum Improvement Study Program หรือ SCIS)
ื
ประกอบด้วย 3 ขั้นคอ ขั้นสำรวจ (Exploration) ขั้นสร้าง (Invention) ขั้นค้นพบ(Discovery) แต่มีครูเป็นจำนวน
มากที่ยังไม่เข้าใจ 2 ขั้นตอนหลัก คือ ขั้นสร้างและขั้นค้นพบ ดังนั้นบาร์แมนและโกตาร์ (Barman and Kotar.
1989) ได้ปรับปรุงเป็น ขั้นสำรวจ (Exploration) ขั้นแนะนำมโนทัศน์ (Concept Introduction) และขั้น
ประยุกต์ใช้มโนทัศน์ (Concept Application) ต่อมานักวิทยาศาสตร์ได้ดัดแปลงขั้นแนะนำมโนทัศน์เป็นขั้น
แนะนำคำสำคัญ (Term Introduction) ด้วยเหตุผลที่ว่า ครูสามารถแนะนำหรืออธิบายคำสำคัญหรือนิยามศัพท์
เฉพาะให้แก่นักเรียน เพราะนักเรียนต้องเป็นผู้ค้นพบหรือสร้างมโนทัศน์ด้วยตนเอง (Lawson. 1995) แต่อย่างไรก็
ตามมีผู้ปรับเปลี่ยนชื่อของขั้นตอนที่ 2 ให้เหมาะสมยิ่งขึ้นจะสังเกตเห็นว่าวัฏจักรการเรียนรู้ที่กล่าวมาทั้งสอง
ขั้นตอนเท่านั้นที่มีชื่อแตกต่างกันแต่คำอธิบายใกล้เคียงกัน วัฏจักรการเรียนรู้นี้มีลักษณะเหมือนเกลียวสว่าน แต่ละ
ขั้นมีสาระดังนี้
1. ขั้นสำรวจ (Exploration Phase) เป็นขั้นที่นักเรียนเป็นผู้ปฏิบัติกิจกรรมโดยการสังเกตตั้งคำถาม
้
คิด วิเคราะห์ สำรวจ หรือทดลอง เก็บรวบรวมขอมูล โดยอาจปฏิบัติกิจกรรมเป็นรายบุคคลหรือเป็นรายกลุ่มเล็ก
ื่
ครูมีบทบาทเป็นผู้อำนวยความสะดวก คือ สังเกต ตั้งคำถามเพอกระตุ้นและชี้แนะการเรียนรู้ของนักเรียน เพื่อให้
นักเรียนค้นพบหรือสร้างมโนทัศน์ด้วยตนเอง
2. ขั้นแนะนำคำสำคัญ/ขั้นสร้างมโนทัศน์/ขั้นได้มาซึ่งมโนทัศน์ (Term Introduction/ Concept
ี
Formation/concept Acquisition Phase) เป็นขั้นที่ครูมบทบาทโดยตั้งคำถามกระตุ้น และชี้แนะให้นักเรียนคิด
เชื่อมโยงสิ่งที่ได้ปฏิบัติในขั้นสำรวจโดยครูแนะนำและอธิบายคำศพท์ที่สำคัญของมโนทัศน์นั้นฯ เพื่อให้นักเรียน
ั
จัดเรียงความคิดใหม่ในการคนพบและอธิบายมโนทัศน์นั้นฯ ขั้นนี้ครูและนักเรียนจะปฏิสัมพันธ์กันเพื่อค้นหามโน
้
ทัศน์จากข้อมูลและการสังเกตในขั้นสำรวจ
3. ขั้นประยุกต์ใช้มโนทัศน์ (concept Application Phase) เป็นขั้นที่ครูกระตุ้นให้นักเรียนนำมโน
ทัศน์ที่ค้นพบหรือเกิดการเรียนรู้แล้ว (ในขั้นที่1 และ 2) มาประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ใหม่หรือปัญหาใหม่ อันจะทำ
ให้นักเรียนขยายความเข้าใจในมโนทัศน์นั้นๆ มากยิ่งขึ้น
ในปี ค.ศ.1900 บาร์แมน (Carin. 1993 : Barman. 1990: 75-78 ) ได้ดัดแปลงและพัฒนาวัฏจักรการ
เรียนรู้ออกเป็น 4 ขั้น ได้แก่ (1) ขั้นสำรวจ (Exploration Phase) (2) ขั้นแนะนำมโนทัศน์ (concept
Application Phase) (3) ขั้นประยุกต์ใช้มโนทัศน์(concept Application Phase) และ (4) ขั้นประเมินผลและ
อภิปราย (Evaluation and Discussion Phase) ซึ่งต่อมานักวิทยาศาสตร์ศึกษาบางคน ได้ดัดแปลงเปลี่ยนชื่อเป็น
4E ได้แก่ (1) ขั้นสำรวจ (Exploration Phase) (2) ขั้นอธิบาย(Explanation Phase) (3) ขั้นขยายความรู้
(Expansion Phase) (4) ขั้นประเมินผล (Evaluation Phase)