Page 13 - รายงานวิจัยชั้นเรียนปี 2562 กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์
P. 13
8
ต่อมาในปี ค.ศ. 1992 โครงการศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตร์สาขาชีววิทยาของสหรัฐอเมริกา
(Biological Science Curriculum Studies หรือ BSCS) ได้ปรับวัฏจักรการเรียนรู้ออกเป็น 5 ขั้น หรือเรียกย่อว่า
5E เพื่อเป็นแนวทางสำหรับใช้ออกแบบการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น โดย 5 ขั้นนี้ได้แก ่
1. ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน (Engagement Phase)
2. ขั้นสำรวจ (Exploration Phase)
3. ขั้นอธิบาย (Explanation Phase)
4. ขั้นขยายหรือประยุกต์ใช้มโนทัศน์ (Elaboration Phase)
5. ขั้นประเมินผล (Evaluation Phase)
ซึ่งรายละเอียดของแต่ละขั้นตอนแสดงในตาราง 1 ดังนี้
ตาราง 1 รูปแบบการสอนของโครงการศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตร์สาขาวิชาชีววิทยาของสหรัฐอเมริกา (BSCS):
บทบาทครู
ขั้นตอนของรูปแบบ บทบาทของครู
การสอน สิ่งที่ควรกระทำ สิ่งที่ไม่ควรกระทำ
1. ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน - สร้างความสนใจ - อธิบายมโนทัศน์
(Engagement - กระตุ้นความอยากรู้ อยากเห็น - ให้นิยามหรือคำตอบ
Phase) - ตั้งคำถาม - พูดสรุป
2. ขั้นสำรวจ - ทบทวนมโนทัศน์หรือเรื่องที่นักเรียนมีความรู้และ - พูดตัดบท
(Exploration Phase) ความคิดมาก่อน - บรรยาย
- กระตุ้นให้นักเรียนทำงานร่วมกันโดยครูไม่สอน - บอกคำตอบ
โดยตรง - บอกหรืออธิบายวีดำเนินการ
- ฟังและสังเกตปฏิสัมพันธ์ของนักเรียน แก้ปัญหา
- ถามคำถามเท่าที่จำเป็นเพื่อให้นักเรียนได้สืบเสาะ - บอกนักเรียนว่าปฏิบัติผิด
อย่างมีทิศทางหรือเข้าร่องรอย - ให้ข้อมูลหรือข้อเท็จจริง ที่ใช้
- ให้เวลาแก่นักเรียนในการเข้าถึงปัญหา แก้ปัญหา
- ปฏิบัติตนเป็นเสมือนที่ปรึกษาแก่นักเรียน - ชี้นำนักเรียนทีละขั้นเพื่อ
แก้ปัญหา
3.ขั้นอธิบาย - กระตุ้นให้นักเรียนอธิบายมโนทัศน์และให้คำ -ละเลยหรือไม่สนใจคำอธิบาย
ู
(Explanation Phase) นิยามด้วยคำพดของนักเรียนเอง ของนักเรียน
- ถามหาหลักฐานเพื่อให้นักเรียนชี้แจงมโนทัศน์ - แนะนำมโนทัศน์หรือทักษะที่ไม่
- เปิดโอกาสให้นักเรียนชี้แจงมโนทัศน์ เกี่ยวข้องกับสิ่งที่เรียน
- เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ใช้ประสบการณ์เดิมเป็น
หลักฐานของการอธิบายมโนทัศน์ที่ค้นพบ
- ให้คำนิยามที่เป็นแบบแผน หรืออธิบายและแสดง
แผนผังเพื่อให้นักเรียนชี้แจงมโนทัศน์นั้นๆ