Page 18 - รายงานวิจัยชั้นเรียนปี 2562 กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์
P. 18

13

                          3.5 ข้อสอบแบบจับคู่ (Matching) เป็นข้อสอบแบบเลือกตอบชนิดหนึ่ง โดยมีคำหรือข้อความแยกออก
               จากกันเป็น 2 ชุด แล้วให้ผู้ตอบเลือกจับคู่ว่า แต่ละข้อความในชุดหนึ่ง (ตัวยืน) จะจับคู่คำ หรือข้อความใดในอีกชุด

                                                                       ้
               หนึ่ง (ตัวเลือก) ซึ่งมีความสัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ผู้ออกขอสอบกำหนดไว้
                          3.6 ข้อสอบแบบเลือกตอบ (Multiple Choice) ลักษณะทั่วไป คำถามแบบเลือกตอบโดยทั่วไปจะ
               ประกอบด้วย 2 ตอน คือ ตอนนำหรือคำถาม (Stem) กับตัวเลือก (Choice) ในตอนเลือกนี้จะประกอบด้วย
               ตัวเลือกที่ถกและตัวเลือกที่เป็นตัวลวง ปกติจะมีคำถามที่กำหนดให้นักเรียนพิจารณา แล้วหาตัวเลือกที่ถูกต้องมาก
                        ู
               ที่สุดจากตัวลวงอื่นๆ และคำตอบแบบเลือกตอบที่ดี นิยมใช้ตัวเลือกที่ใกล้เคียงกัน ดูเผินๆ จะเห็นว่าทุกตัวเลือกถก
                                                                                                           ู
               หมดแต่ความจริงมีน้ำหนักถูกมากน้อยต่างกัน
                                                      ้
                          ดังนั้น การที่ครูผู้สอนจะเลือกออกขอสอบประเภทใดนั้นต้องพิจารณาข้อดี ข้อจำกัด ความเหมาะสม
               ของแบบทดสอบกับเนื้อหา หรือจุดประสงค์ในการเรียนรู้ ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ ผู้ศึกษาค้นคว้าเลือกใช้

               แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบเลือกตอบ (Multiple Choice)
                      4)  หลักการสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (Multiple Choice)
                          สมนึก ภัททิยธนี (2537: 64-77) ได้กล่าวถึง หลักในการสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
               แบบเลือกตอบ ดังนี้

                          4.1 เขียนตอนนำให้เป็นประโยคที่สมบูรณ์ แล้วใส่เครื่องหมาย ปรัศนี ไมควรสร้างตอนนำให้เป็นแบบ
                                                                                    ่
               อ่านต่อความ เพราะทำให้คำถามไม่กระชับ เกิดปัญหาสองแง่หรือขอความไม่ต่อกัน หรือเกิดความสับสนในการคิด
                                                                      ้
               หาคำตอบ
                                                                                      ้
                                                                             ่
                          4.2 เน้นเรื่องจะถามให้ชัดเจนและตรงจุดไม่คลุมเครือ เพื่อว่าผู้อานจะไม่เขาใจไขว้เขว สามารถมุ่ง
               ความคิดในคำตอบไปถูกทิศทาง
                          4.3 ควรถามในเรื่องในเรื่องที่มีคุณค่าต่อการวัด หรือถามในสิ่งที่ดีงามมีประโยชน์ คำถามแบบ
               เลือกตอบสามารถถามพฤติกรรมในสมองได้หลายๆด้าน ไม่ใช่คำถามเฉพาะความจำ หรือความจริงตามตำรา แต่
                         ิ
               ต้องถามให้คดหรือนำความรู้ที่เรียนไปใช้ในสถานการณ์ใหม่
                          4.4 หลีกเลี่ยงคำถามปฏิเสธ ถ้าจำเป็นต้องใช้ก็ควรขีดเส้นใต้คำปฏิเสธแต่คำปฏิเสธซ้อนไม่ควรใช้อย่าง
               ยิ่ง เพราะปกติผู้เรียนจะยุ่งยากต่อการแปลความหมายของคำถามและตอบคำถามที่ถามกลับ หรือปฏิเสธซ้อนผิด
               มากกว่าถูก

                                         ื
                          4.5 อย่าใช้คำฟุ่มเฟอย ควรถามปัญหาโดยตรง สิ่งใดไม่เกี่ยวข้องหรือไม่ได้ใช้เป็นเงื่อนไขในการคิดก็ไม่
               ต้องนำมาเขียนไว้ในคำถาม จะช่วยให้คำถามรัดกุม ชัดเจนขึ้น
                          4.6 เขียนตัวเลือกให้เป็นเอกพันธ์ หมายถึง เขียนตัวเลือกทุกตัวให้เป็นลักษณะใดลักษณะหนึ่ง หรือมี
               ทิศทางแบบเดียวกัน หรือมีโครงสร้างสอดคล้องเป็นทำนองเดียวกัน
                          4.7 ควรเรียงลำดับตัวเลขในตัวเลือกต่างๆ ได้แก่ คำตอบที่เป็นตัวเลข นิยมเรียงจากน้อยไปหามาก

               เพื่อช่วยให้ผู้ตอบพิจารณาหาคำตอบได้สะดวก ไม่หลง และป้องกันการเดาตัวเลือกที่มีค่ามาก
                          4.8 ใช้ตัวเลือกปลายเปิดหรือปลายปิดให้เหมาะสม ตัวเลือกปลายเปิด ได้แก่ ตัวเลือกสุดท้ายใช้คำว่า
                   ี
               ไม่มคำตอบถูก ที่กล่าวมาผิดหมด ผิดหมดทุกข้อ หรือสรุปแน่นอนไม่ได้
                          4.9 ข้อเดียวต้องมีคำตอบเดียว แต่บางครั้งผู้ออกข้อสอบคาดไม่ถึงว่าจะมีปัญหา หรืออาจจะเกิดจาก
               การแต่งตั้งตัวลวงไม่รัดกุม จึงมองตัวเองเหล่านั้นได้อกแง่หนึ่ง ทำให้เกิดปัญหาสองแง่สองมุมได้
                                                          ี
   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23