Page 21 - รายงานวิจัยชั้นเรียนปี 2562 กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์
P. 21

16

                      3. ผลของการเรียนที่นำไปสู่ความพึงพอใจ
                        ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจ และผลการปฏิบัติงานจะถูกเชื่อมโยงด้วยปัจจัยอื่นๆ ผลการ

               ปฏิบัติงานที่ดี จะนำไปสู่ผลตอบแทนที่เหมาะสม ซึ่งในที่สุดจะนำไปสู่การตอบสนองความพึงพอใจ ผลการ
               ปฏิบัติงานย่อมได้รับการตอบสนองในรูปของผลตอบแทน ซึ่งแบ่งออกเป็นผลตอบแทนภายใน (Intrinsic
               Rewards) และผลตอบแทนภายนอก (Extrinsic Rewards) โดยผ่านการรับรู้เกี่ยวกับความยุติธรรมของ
               ผลตอบแทน ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ปริมาณของผลตอบแทนที่ผู้ปฏิบัติงานได้รับ นั่นคือ ความพึงพอใจในงานของ
                                                                       ิ
                             ู
               ผู้ปฏิบัติงานจะถกกำหนดโดยความแตกต่างระหว่างผลตอบแทนที่เกดขึ้นจริง และการรับรู้เรื่องเกี่ยวกับความ
               ยุติธรรมของผลตอบแทน จากแนวคิดพื้นฐาน ดังกล่าว เมื่อนำมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
               ผลตอบแทนภายในหรือรางวัลภายใน เป็นผลด้านความรู้สึกของผู้เรียนที่เกิดแก่ตัวผู้เรียนเอง เช่น ความรู้สึกต่อ
               ความสำเร็จที่เกิดขึ้น เมื่อเอาชนะความยุ่งยากต่างๆ และสามารถดำเนินงานภายใต้ความยุงยากทั้งหลาย ได้สำเร็จ

               ทำให้เกิดความภาคภูมิใจ ความมั่นใจ ตลอดจนได้รับการยกย่องจากบุคคลอื่นส่วนผลตอบแทนภายนอกเป็นรางวัล
               ที่ผู้อื่นจัดหามาให้มากกว่าที่ตนเองให้ตนเอง เช่น การได้รับคำยกย่องชมเชยจากครูผู้สอน พ่อแม่ ผู้ปกครอง หรือ
               แม้แต่การได้คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในระดับที่น่าพงพอใจ
                                                               ึ
                        สรุปได้ว่า ความพึงพอใจในการเรียนและผลสัมฤทธิ์การเรียนจะมีความสัมพันธ์กันทางบวก ดังนั้น

               ครูผู้สอนจึงมีความจำเป็นที่จะต้องจัดกิจกรรมการเรียนรู้ บรรยากาศการเรียนรู้ ตลอดจนสื่อ อุปกรณ์ ๚ล๚ ให้เอื้อ
               ต่อความพึงพอใจของผู้เรียนให้มากที่สุด
                      4. การวัดความพึงพอใจ
                        ในการวัดความพึงพอใจนั้นมีนักวิชาการได้กล่าวว่าไว้ ดังนี้

                             บุญเรือง ขจรศิลป์ (2533: 75) ได้ให้ทัศนะเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า ทัศนคติ หรือเจตคติเป็นนามธรรม
                               ่
               เป็นการแสดงออกคอนข้างซับซ้อน จึงเป็นการยากที่จะวัดทัศนคติได้โดยตรง แต่เราสามารถที่จะวัดทัศนคตได้โดย
                                                                                                      ิ
               อ้อม โดยวัดความคิดเห็นของบุคคลเหล่านั้นแสดงความคิดเห็นไม่ตรงกับความรู้สึกที่จริง ซึ่งความคลาดเคลื่อน
               เหล่านี้ย่อมเกิดขึ้นได้เป็นธรรมดาของการวัดโดยทั่วๆ ไป

                              ภณิดา ชัยปัญญา (ประภาพันธ์ พลายจันทร. 2546: 6) ได้กล่าวว่า การวัดความพึงพอใจนั้น
               สามารถทำได้ หลายวิธี ดังต่อไปนี้
                                                                      ื่
                              1. การใช้แบบสอบถามโดยผู้ออกแบบสอบถามเพอต้องการทราบความคิดเห็นซึ่งสามารถกระทำ
               ได้ ในลักษณะกำหนดคำตอบให้ เลือกหรือตอบคำถามอิสระ คำถามดังกล่าวอาจถามความพอใจในด้านต่างๆ

                              2. การสัมภาษณ์ เป็นวิธีการวัดความพึงพอใจทางตรง ซึ่งต้องอาศัยเทคนิคและวิธีการที่ดีจะได้
               ข้อมูลที่เป็นจริง
                              3. การสังเกต เป็นวิธีวัดความพึงพอใจ โดยการสังเกตพฤติกรรมของบุคคล เป้าหมาย ไม่ว่าจะ

               แสดงออกจากการพูดจา กริยา ท่าทาง วิธีนี้ต้องอาศัยการกระทำอย่างจริงจัง และสังเกตอย่างมีระเบียบแบบแผน
                        จากการศึกษาเอกสารเกี่ยวกับการวัดความพึงพอใจสามารถสรุปได้ว่า วิธีการวัดความพงพอใจนั้น
                                                                                                ึ
               สามารถทำได้หลายวิธี การที่จะเลือกใช้วิธีการใดนั้นขึ้นอยู่กับบริบทต่างๆ เช่น กลุ่มที่ต้องการวัดความพึงพอใจ

               สถานที่ เวลา และโอกาสในการวัดความพึงพอใจด้วย ดังนั้นจึงควรเลือกใช้ตามความเหมาะสม
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26