Page 23 - รายงานวิจัยชั้นเรียนปี 2562 กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์
P. 23
18
เกณฑ์ที่ตั้งไว้ และมีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.7520 ซึ่งหมายความว่านักเรียนมีค่าคะแนนในการเรียนเพิ่มขึ้น
เป็นร้อยละ 75.20 นักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ขั้นพื้นฐานหลังจากเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติที่ระดับ 0.01
สุพัตรา ประกอบพานิช (2549: 91-94) ได้ศึกษาผลของการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น ที่มีต่อ
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่า
แผนการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น มีประสิทธิภาพ 78.44/76.53 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ และมีค่า
ึ้
ดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.6078 ซึ่งหมายความว่านักเรียนมีค่าคะแนนในการเรียนเพิ่มขนเป็นร้อยละ 60.87
นอกจากนั้นนักเรียนที่เรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น มีเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์
โดยรวมและรายด้าน 6 ด้าน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานหลังเรียน
เพิ่มขึ้นจากกอนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
่
2) งานวิจัยในต่างประเทศ
เจมส์ (James. 2002: 2140-A) ได้ศึกษาเกี่ยวกับความเข้าใจของครูประถมศกษาที่มีต่อการสอน
ึ
วิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้ และวิธีการเปลี่ยนแปลงผลที่เกิดขึ้นในชั้นเรียน โดยวิธีการประชุมเชิง
ปฏิบัติการพัฒนาทางวิชาชีพ ใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 12 คน ซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างอาสาสมัคร ผลการศึกษาพบว่า
คะแนนก่อนและหลังจากการทำแบบสอบถามการแระเมินตนเองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ
แฮบกูด (Hapgood. 2003: 1979-A) ได้ศึกษาการสอนวิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้เกี่ยวกับการ
เคลื่อนที่ในแนวราบ ของนักเรียนเกรด 2 โดยใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 21 คน ผลการศึกษาพบว่า นักเรียนทำ
คะแนนหลังเรียนได้มากกว่าก่อนเรียน ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสัมพันธ์
บาร์เนท (Barnett. 2003: 2031-A) ได้ศึกษามาตรฐานวิทยาศาสตร์ระดับชาติ และระดับในปัจจุบัน
เน้นที่การสืบเสาะซึ่งเป็นยุทธวิธีในการสอนวิทยาศาสตร์ มาตรฐานเหล่านี้ไม่ได้กำหนดวิธีที่จะสร้างการสืบเสาะ
ภายในเนื้อหาที่ใช้สอนในห้องเรียนยิ่งไปกว่านั้นครูจำนวนมากเป็นผู้ตัดสินใจแบบสร้างสรรค์และชาญฉลาด ซึ่งเป็น
ี
ผู้ที่รับรู้และกำหนดวิธีการสืบเสาะและไม่มความสงสัย ที่จะนำเอาวิธีการสืบเสาะไปใช้เพราะว่ามีประโยชน์มาก
ที่สุดต่อนักเรียน การศึกษาครั้งนี้ เป็นการพิจารณาถึงแนวความคิดด้านการสืบเสาะของครู 2 คนว่าจะเปลี่ยนแปลง
อย่างไรเมื่อเวลานานขึ้น และการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้จะเกี่ยวพันกันอย่างไร และครูเหล่านี้จะผ่านพ้นความ
ยากลำบากอย่างไร รูปแบบของการวิจัยธรรมชาติ และการแปลความเพอใช้สำหรับเก็บรวบรวมข้อมูลและการ
ื่
วิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิเคราะห์ชี้ให้เห็นว่า แนวความคิดของครูต่อการสืบเสาะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากเมอ
ื่
เวลามากขึ้น และไม่พบว่าเหตุการณ์และขั้นของการคิดวิเคราะห์นั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างยิ่งในการสอนเนื้อหา
ของครู
โกลเบิร์ก (Goldberg. 2004: 1979-A) ได้ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับ ปฏิสัมพันธ์ในชั้นเรียน และการสอบ
วิทยาศาสตร์แบบสืบสวนสอบถาม โดยศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างในการสอนแบบสืบเสาะในโปรแกรม
วิทยาศาสตร์ระหว่างกลุ่มชั้นเรียน 2 ห้องเรียน ในโรงเรียนขนาดกลางโดยใช้หลักสูตรวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
ฉบับใหม่ ห้องเรียน 2 มีลักษณะที่เหมือนกัน ที่ตั้งอยู่ในโรงเรียนขนาดกลางและทำการสอนโดยครูที่มี
ประสบการณ์ ปัจจัยในด้านต่างๆ ได้รับการควบคุมให้มีความคลายคลึงกัน เพื่อศึกษาความแตกต่างที่เกิดขึ้นใน
งานวิจัยเพื่อวิเคราะห์นักเรียนก่อนเรียน และหลังการทดสอบวิทยาศาสตร์ใน 2 ห้องเรียน ในด้านการปฏิสัมพันธ์
ในชั้นเรียน ภายใต้การใช้กิจกรรมในหลักสูตรคู่ขนาน และเปรียบเทียบในแง่ของสังคมและการจัดการเรียนรู้